“มีบุตรยาก ไม่ใช่เรื่องยาก”  อีกต่อไป !! คุณผู้หญิงหลายๆ ท่านที่ต้องการมีบุตรแต่มีปัญหาเนื่องจากเป็นโรคต่างๆ ที่มีปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด ภาวะมีบุตรยาก นั้น ปัญหาที่เกิดในเพศหญิงถือเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการมีบุตรยากถึง ร้อยละ 70 เลยทีเดียว แต่อีกส่วนหนึ่งจะเป็นสาเหตุมาจากเพศชาย การตรวจหาความผิดปกติในเพศชายนั้น สะดวกกว่าเพศหญิง เพียงการตรวจพิเคราะห์น้ำอสุจิก็จะทราบได้ว่าเชื้อแข็งแรงพร้อมหรือ ไม่ สำหรับในเพศหญิงสาเหตุส่วนใหญ่ของการมีบุตรยากเกิด จากปัจจัยของท่อนำไข่ผิดปกติตีบตัน คดงอ รองลงมาเกิดจากปัจจัยภายนอกของโพรงมดลูก เช่น อาจจะมีเนื้องอกหรือความสมบูรณ์ไม่พอเพียงของเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก และปัจจัยจากรังไข่ซึ่งเป็นแหล่งสร้างไข่เพื่อมาปฏิสนธิกับตัวอสุจิ การวิเคราะห์หาสาเหตุของการก่อให้เกิดมีบุตรยาก เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อการวางแผนการแก้ไขรักษาได้ถูกต้องต่อไป

การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)

เป็นการปฏิสนธินอกร่างกาย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เด็กหลอดแก้ว” เป็นการนำไข่และเชื้อ อสุจิมาผสมรวมกันในหลอดแก้วทดลองให้มีการรวมตัวกัน (การปฏิสนธิ) ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจำลอง สภาพแวดล้อม และอุณหภูมิ ที่คล้ายร่างกายมนุษย์ ภายหลังจากการเกิดการปฏิสนธิแล้ว ไข่ที่ถูกผสม จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตได้  3-5 วัน จากนั้นจะทำการย้าย  ตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกของผู้หญิง

เราจะเลือกวิธีนี้เมื่อไร

การเลือกการรักษาโดยการทำเด็กหลอดแก้ว จะพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสได้แก่

  1. ระบบท่อนำไข่ เช่น มีการอุดตัน หรือเคยรับการผ่าตัด
  2. เชื้ออสุจิผิดปกติ เช่น จำนวนน้อย รูปร่างผิดปกติ การเคลื่อนไหวน้อย
  3. ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  4. ระบบฮอร์โมนรังไข่ เช่น ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
  5. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  6. การทำผสมเทียมไม่สำเร็จ
  7. ความจำเป็นในการรักษาโดยใช้ไข่หรือตัวอ่อนบริจาค
  8. การรักษาโรคทางพันธุกรรมโดยการทำ EMBRYO BIOPSY
  9. ภาวะที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว

  • การกระตุ้นรังไข่ เพื่อให้มีการตกไข่ ซึ่งแพทย์จะให้ยาตามความเหมาะสมของแต่ละคน
  • การติดตามการเจริญเติบโตของถุงไข่ โดยการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด และเจาะเลือดดูระดับฮอร์โมน
  • การฉีดยาให้ไข่สุกพร้อมสำหรับการเก็บ
  • การเก็บไข่ ทำการเก็บไข่ประมาณ 34-36 ชั่วโมง หลังฉีดยาให้ไข่สุกพร้อมเก็บการเตรียมอสุจิ นำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทำการคัดแยกอสุจิที่แข็งแรง
  • การปฏิสนธินอกร่างกาย นำไข่และอสุจิผสมรวมกันในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงจนเป็นตัวอ่อน
  • นำตัวอ่อนที่สมบูรณ์ย้ายเข้าโพรงมดลูก ด้วยวิธีการคล้ายกับการตรวจภายในตามปกติ
  • ทดสอบการตั้งครรภ์โดยตรวจวัดระดับฮอร์โมนในเลือดประมาณ 12-14 วันหลังจากการใส่ตัวอ่อน

บริการของศูนย์

  • IVF (เด็กหลอดแก้ว) คือ การนำไข่มาผสมกับเชื้ออสุจิภายนอกร่างกาย โดยผสมไข่กับอสุจิที่ผ่านขั้นตอนการเตรียมน้ำอสุจิแล้ว
  • ICSI (อิ๊กซี่) คือ การใช้เข็มฉีดเชื้ออสุจิหนึ่งตัวเข้าไปในไข่เพื่อช่วยปฏิสนธิ ให้เกิดเป็นตัวอ่อนเมื่อได้ตัวอ่อนแล้วจึงย้ายฝากเข้าสู่โพรงมดลูก
  • PESA (พีซ่า) คือ การดูดตัวอสุจิออกมาจากบริเวณถุงพักน้ำเชื้อ เพื่อนำมาผสมกับไข่ให้เป็นตัวอ่อนด้วยวิธีการทำอิ๊กซี่ ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่มีอสุจิ
  • TESE (เทเซ่) คือ การตัดชิ้นเนื้อเล็กๆจากอัณฑะมาหาตัวอสุจิ เพื่อนำมาผสมไข่ให้เป็นตัวอ่อนด้วยวิธีการทำอิ๊กซี่ ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่มีอสุจิ
  • PGD คือ เทคนิคการตรวจวินิจฉัยตัวอ่อน เพื่อดูจำนวนโครโมโซม หรือ สารพันธุกรรมที่ผิดปกติ เพื่อการคัดเลือกตัวอ่อนที่ปรากจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สำหรับการตั้งครรภ์
  • Embryo transfer (ET) การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก
  • Embryo Freezing การแช่แข็งตัวอ่อน เพื่อเก็บไว้ในอนาคต
  • Sperm Freezing การแช่แข็งอสุจิ เพื่อเก็บไว้ในอนาคต
  • Oocyte Freezing การเก็บรักษาไข่ด้วยวิธีการแช่แข็ง หรือการแช่แข็งไข่ เพื่อเก็บไว้ในอนาคต

MINC Mini-incubators

คือ ตู้อบขนาดเล็กสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน ที่มีการควบคุมอุณหภูมิปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกดไซด์ให้พอเหมาะกับการเติบโตของตัวอ่อน โดยเลียนแบบสภาวะตามธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมของตัวอ่อนในโพรงมดลูก

Culture Medium
ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ในของเหลวที่เรียกว่า Culture Medium คุณภาพของ Culture Medium นี้สำคัญต่อระบวนการเด็กหลอดแก้วอย่างมาก นี่คือเหตุผลที่เราใช้ Culture Medium

Blastocyst Culture and Implantation
เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายฝากตัวอ่อนในระบบบลาสโตซิตส์ชั้นนำของโลกอัน เป็นเทคนิคซึ่งเอื้อให้ตัวอ่อนเติบโตถึงระยะบลาสโตซิตส์ก่อนจะโอนถ่ายกลับ เข้าตัวมารดา ซึ่งทำให้เรามีโอกาสได้ตรวจสอบศักยภาพของตัวอ่อนที่มีการพัฒนาอย่างดีที่สุด เพื่อย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งวิธีนี้ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์จากเด็กหลอดแก้ว การย้ายฝากตัวอ่อนในระยะนี้

Blastocyst Biopsy
เราใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะบลาโตซิตส์ ก่อนทำการแบ่งเซลล์ไปเพื่อศึกษาพันธุกรรม และสามารถทราบผลภายในวันเดียวกัน เราสามารถตรวจสอบพันธุกรรมในตัวอ่อน เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ปลอดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เพื่อการตั้งครรภ์

Per-Implantation Genetic Diagnosis (PGD)
คือกระบวนการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนย้ายกลับ โดยการดึงเซลล์จากตัวอ่อน 3-5 เซลล์ ไปทำการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ จากเซลล์น้อยๆ สามารถแยกตัวอ่อนที่มีภาวะดาวซินโดรม, เบต้า-ธาลัสซีเมีย.ชีสติกไฟโบรซิส, อันติงตันส์ ดิชีส และโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่นๆ อีกหลายโรค ทำให้สามารถตัดปัจจัยอันเป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์ได้

Frozen embryo storage
เราสามารถแช่แข็งตัวอ่อนจากกระบวนการเด็กหลอดแก้วครั้ง แรกเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการย้ายฝากในรอบถัดไป โดยผู้ป่วยไม่ต้องรับการกระตุ้นไข่อีก การแช่แข็งตัวอ่อนไม่สามารถทำได้เสมอไป ขึ้นอยู่กับคุณภาพตัวอ่อนก่อนการพิจารณาแช่แข็ง

ผู้ที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

  • คู่สมรสที่มีปัญหาในการตั้งครรภ์
  • คู่สมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคหรือเป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรม
  • คู่สมรสที่จำเป็นต้องคัดเลือกเพศบุตร เนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์
  • คู่สมรสที่ประสบปัญหาภาวะแห้งเป็นอาจิณ
  • คู่สมรสที่อายุมากและมีบุตรยาก
  • คนโสดที่มีความต้องการในการเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่ หรืออสุจิ) ไว้เพื่อใช้ในอนาคต

สามารถชมวิดีโอของศูนย์ผู้มีบุตรยากได้ตามรายการ

  • การทำเด็กหลอดแก้วและรักษาภาวะการมีบุตรยาก IVF https://youtu.be/Ru6LvNNpTIA
  • ศูนย์การให้คำปรึกษาสำหรับผู้มีบุตรยาก (EKI-IVF Fertility & Genetic Center) https://youtu.be/COX6Pl5233k
  • IUI…สเต็ปแรกสำหรับผู้มีบุตรยาก https://youtu.be/fBW4iYCV5jc
  • IVF & ICSI ทางออกสุดท้ายของผู้มีบุตรยาก https://youtu.be/OXNNb54CPsM

→ประวัติแพทย์ที่ทำการรักษา←

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์ผู้มีบุตรยาก ชั้น 2 โทร. 034-417-999 ต่อ 221, 222, 158 หรือสายด่วน 1715

อยากมีลูกโทร.