ไวรัสเมอร์ส คืออะไร อาการเป็นอย่างไร เพราะขณะนี้ยังไม่มียารักษา เพียงแค่ 5 นาทีก็ติดต่อได้ ทำให้อัตราการตายสูง ! คำถาม-คำตอบต่อไปนี้จะทำให้เรารู้จักเชื้อไวรัสลึกลับนี้มาก ขึ้น

ไวรัสเมอร์ส ที่มีข่าวแพร่ระบาดและคร่าชีวิตชาวเกาหลีใต้ไปบ้างแล้วนั้น ทำให้คนไทยหวาดวิตกพอสมควร เพราะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจตระกูลเดียวกับซาร์ส ซึ่งเคยคร่าชีวิตคนไปเป็นจำนวนมาก ที่น่ากลัวคือจนถึงวันนี้ยังไม่มียารักษา ถึงเวลาต้องทำความรู้จักกับเชื้อร้ายมรณะตัวนี้ให้มากขึ้น รู้ให้ครบทุกด้านก่อนตื่นตระหนกจนเกินควร

h

ไวรัสเมอร์ส คืออะไร

ไว รัสเมอร์ส ก็คือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันในประเทศตะวันออกกลาง (Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV)) หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ไวรัสโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012” คือ โรคระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (MERS-CoV) ซึ่งตรวจพบเป็นครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยเชื้อตัวนี้มาจากค้างคาวแล้วมาติดอูฐ ก่อนจะแพร่ไปยังชายชาวซาอุฯ ที่เป็นผู้ป่วยรายแรก

โคโรน่าไวรัส จัดเป็นกลุ่มใหญ่ของไวรัสวงหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคได้หลายโรค ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาไปจนถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส

0121.

ไวรัสเมอร์ส อาการป่วยเป็นอย่างไร?

เนื่อง จากโรคนี้เป็นไวรัสตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ดังนั้นอาการที่พบคืออาการทางระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยจะเป็นไข้ ไอ หอบ หายใจลำบาก และเมื่อตรวจร่างกายจะพบ “ปอดบวม” ปอดอักเสบ หรือนิวโมเนีย บางรายอาจมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย

ทั้งนี้เมื่อผู้ป่วยมีอาการปอดบวม หรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ซึ่งจําเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประกอบกับการดูแลด้านอื่น ๆ ผู้ป่วยบางรายมีภาวะอวัยวะล้มเหลวโดยเฉพาะไตวาย หรือมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ สํา หรับผู้ที่มีโรคประจําตัว ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน มะเร็งและโรคปอดเรื้อรัง อาการป่วยจะรุนแรง

ไวรัสเมอร์ส ติดต่อกันได้อย่างไร

ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า โรคนี้การติดต่อเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพียง 5 นาทีก็สามารถติดต่อกันได้ผ่านทาง

  • การสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
  • ติดต่อผ่านละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย การไอ หรือจาม
  • มือที่สัมผัสของใช้ร่วมกับผู้ป่วย
  • การสัมผัสกับอูฐที่มีเชื้อ

ไวรัสเมอร์ส รักษาได้ไหม อัตราการเสียชีวิตสูงแค่ไหน?

น่า กลัวทีเดียวเพราะปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคไวรัสเมอร์ส จึงทำได้เพียงรักษาตามอาการเท่านั้น และเนื่องจากยังไม่มียารักษา จึงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตถึงร้อยละ 40 ต่างจากโรคซาร์สที่แม้จะแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าไวรัสเมอร์ส แต่อัตราการเสียชีวิตมีเพียงร้อยละ 9.6 เท่านั้น เรื่องนี้จึงทำให้วงการแพทย์เป็นกังวลกันมากกับการลุกลามของไวรัสเมอร์สครั้งนี้

หากต้องสงสัยป่วยไวรัสเมอร์ส ต้องทำอย่างไร?

หากใคร มีประวัติเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด แล้วมีอาการไอ เป็นหวัด ให้ใส่หน้ากากอนามัย และพักผ่อนอยู่ที่บ้าน หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศด้วย แต่ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไตวาย โรคปอดเรื้อรัง และภูมิต้านทานโรคต่ำ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกว่า

นอกจากนี้ยังสามารถโทร. 1422 ปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค  ddc.moph.go.th

ไวรัสเมอร์ส ป้องกันอย่างไรดี

วิธีป้องกันไวรัสเมอร์สก็ทำเหมือนกับโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั่วไป คือต้องรักษาร่างกายตัวเองให้แข็งแรง อีกทั้งต้องมีสุขอนามัยที่ดี เช่น

  • หมั่นล้างมือฟอกสบู่บ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
  • สวมหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรค
  • ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
  • หากต้องเดินทางไปในประเทศตะวันออกกลาง ไม่ควรสัมผัสอูฐ หรือสัตว์ป่า