การทำมันหญิงโดยปกติแล้ว แพทย์จะทำหมันโดยการตัดส่วนกลางของท่อนำไข่ออกยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แล้วเย็บผูกปลายที่ติดทั้งสองข้างไม่ให้ติดกัน ก็จะทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ เพราะไข่ที่ตกลงมาจากรังไข่จะไม่เจอกับตัวอสุจิ จึงไม่เกิดการปฏิสนธิ พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ตั้งครรภ์แน่นอนแต่ระบบการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงยังคงมีอยู่ตามปกติ มีประจำเดือนตามปกติ และสามารถที่จะมีกิจกรรมทางเพศกับสามีได้เป็นปกติ และมีความสุขเหมือนเดิม
ถ้ามีความจำเป็นจะต้องตั้งครรภ์ และมีบุตรใหม่ ก็สามารถที่จะไปพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัด เชื่อมต่อท่อนำไข่ที่เหลือเข้าต่อกัน เมื่อนำท่อนำไข่เชื่อมกันแล้ว ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ ถ้าไม่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้มีบุตรยากอีก
แม้ผู้หญิงที่อายุขึ้นเลขสามแล้วก็ยังมีความสามารถที่จะมีบุตรได้ตามปกติ การแก้หมันควรปรึกษาแพทย์ที่ชำนาญทางด้านการผ่าตัดแก้หมันโดยเฉพาะ
ถึงแม้ในหลักการแก้หมันจะมีขั้นตอนเหมือนกันทั้งหญิงและชาย คือการต่อรังไข่และท่ออสุจิให้เชื่อมกัน อีกทั้งค่าใช้จ่ายและการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลใกล้เคียงกันด้วย คือประมาณ 2 วัน และยังต้องมีการตรวจร่างกายก่อนและหลังทำการผ่าตัดด้วยแต่ตามปกติแล้วการแก้หมันของผู้หญิง จะง่ายกว่าผู้ชาย และมีโอกาสสำเร็จมากกว่าถึงเท่าตัว คือในผู้ชาย ประมาณ 30-40 % แต่ในผู้หญิง 60-80 % โดยในผู้หญิงนั้นแม้มีโอกาสตั้งครรภ์สูง ก็อาจจะไม่ได้ลูกก็ได้เนื่องจากอาจจะเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือเกิดการแท้งได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจก่อนว่า การแก้หมันใช่ว่าจะได้ลูก 100 % โดยปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนแก้หมัน ดังนี้
- อายุของผู้หญิงทำการแก้หมัน ยิ่งมากโอกาสยิ่งน้อย
- สุขภาพด้านการเจริญพันธุ์ เช่นรังไข่ไม่ทำงาน มดลูกไม่ปกติ มีเนื้องอก น้ำเชื่ออ่อน เป็นต้น
- สุขภาพทั่วไปไม่ดี มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง โอกาสตั้งครรภ์ก็จะน้อยกว่าคนสุขภาพแข็งแรง
- วิธีที่ทำหมันครั้งแรก เพราะมีผลต่อความเสียหายของท่อนำรังไข่และท่อนำอสุจิ จะมีความยากในการต่อและเป็นอุปสรรคหลังการต่อเสร็จ
- ระยะเวลาที่ทำหมัน ยิ่งทำนาน โอกาสยิ่งน้อย
- ยอมรับปัญหาจากการไม่ตั้งครรภ์หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น
- ความเชี่ยวชาญของแพทย์ทำการต่อหมัน
ข้อมูลโดย : ศูนย์ผู้มีบุตรยากโรงพยาบาลเอกชัย
โทร. 1715 หรือ 034-417999 ต่อ 221, 222