อาการเต้านมคัดตึงแม้จะกินเวลาในระยะสั้น หายได้เอง แต่ ถ้าคุณแม่ปล่อยให้เกิดอาการเต้านมคัดมาก ๆ อาจจะบานปลายกลายเป็นปัญหาอาการเต้านมอักเสบ ดังนั้น วิธีต่อไปนี้ จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

ป้องกันและบรรเทาอาการ

  • ให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที โดยดูดข้างละ 5 นาทีสลับข้างกัน ถ้าลูกยังไม่หิวแต่น้ำนมมาเต็มที่แล้วให้ปั๊มหรือบีบออก เก็บใส่ขวดเป็นสต็อกน้ำนมไว้
  • ควรสวมใส่ชุดชั้นในที่พอดีกับเต้านม (เผื่อช่วงที่เต้านมขยายเต็มที่ด้วย) เพื่อลดอาการความเจ็บปวด เช่น ใส่เสื้อในที่สามารถเปิดให้ลูกกินนมได้สะดวกโดยไม่ต้องถอด
  • ระหว่างที่ให้นมลูก คุณแม่อาจใช้นิ้วนวดคลึงเบา ๆ บริเวณที่มีก้อนแข็ง เพื่อไม่ให้ท่อน้ำนมอุดตัน
  • ถ้าเต้านมคัดมาก (เต้านมแข็งเป็นไต) หรือน้ำนมไม่ไหล อาจใช้ลูกยางปั๊มก่อน จะทำให้น้ำนมไหลได้ง่าย คลายอาการเต้านมคัด
  • ถ้ามีอาการเจ็บเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง ให้ลูกเริ่มดูดข้างที่หัวนมปกติไปก่อน แล้วจึงสลับข้าง
  • ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบ เพื่อลดอาการเจ็บปวด

คุณแม่ที่ตั้งใจให้นมลูก ยังสามารถให้นมลูกได้ค่ะ เพราะยิ่งให้ลูกดูดบ่อย ดูดถูกวิธี อาการเต้านมคัดจะดีขึ้น และอย่าลืมดูแลเรื่องความสะอาด ปลอดจากเชื้อโรคด้วยค่ะ

เต้านมอักเสบ

คุณแม่ที่เครียด เหนื่อย พักผ่อนไม่เพียงพอ ง่ายต่อการที่ภูมิคุ้มกันร่างกายจะอ่อนแอเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เชื้อโรคผ่านเข้าร่างกายได้ง่าย โอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อ มีอาการอักเสบทำให้บริเวณเต้านมเป็นก้อนแข็ง ตึง ร้อนแดง และรู้สึกเจ็บปวดมาก ยิ่งบางรายที่เป็นมาก ก็อาจมีไข้ แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง อาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้

อาการเต้านมอักเสบในทางการแพทย์จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และยาปฏิชีวนะแต่ละชนิดก็สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียได้แตกต่างกัน แต่ถ้าอยู่ในระหว่างการให้นมลูก ยาเหล่านี้ต้องงด ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ควรทำก็คือ ถ้าคุณแม่ดูแลอาการด้วยตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่หายมีอาการต่อเนื่อง ควรพบคุณหมอ เพื่อวิเคราะห์ดูอาการ ไม่ควรซื้อยากินเอง

ศูนย์เด็กสุขภาพดี (รับวัคซีน) ต่อ 9211, 9212

ศูนย์กุมารเวช (เด็กป่วย) ต่อ 9221, 9237