โคลิก เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือนเด็กจะร้องมาก ร้องนาน และมักชอบร้องตอนกลางคืนโดย จะร้องจนตัวงอ ทำให้เกิดความเครียด และความวิตกกังวลกับพ่อแม่และครอบครัวมาก คนรุ่นก่อนจึงมักเรียกว่า”เด็กร้องร้อยวัน”อาการที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องของการปวดท้อง ไม่สบายท้องของเด็ก

colic

อะไรคิอสาเหตุที่ทำให้เกิดโคลิกในเด็ก?

สาเหตุของการเกิดโคลิกยังไม่ทราบแน่นอน แต่คิดว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือ

  1. จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก
  2. เด็กกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก
  3. ผู้ดูแลไม่สามารถทำให้เด็กเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เด็กเกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง
  4. เด็กอยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสม
  5. เด็กกินมากเกินไป หรือน้อยเกินไป
  6. ครอบครัวมีความเครียด หรือความวิตกกังวลมาก(ซึ่งอาจตรงกับที่พบอุบัติการณ์โคลิกสูงในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูงเป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก ครอบครัวที่มีลูกน้อย และในพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูง) พบว่าความเครียดของแม่ตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้
  7. เกิดในเด็กที่มีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน
  8. เกิดในเด็กที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ คือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้มากเกินไป
  9. เกิดในเด็กที่มีการกินอาหารพวกแป้งมากเกินไป ทำให้ลำไส้ย่อยแป้งไม่หมดจึงเหลือแป้งให้แบคทีเรีย (ในลำไส้) ย่อยแป้งที่เหลือทำให้เกิดแก๊สในลำไส้มาก เด็กจึงแน่นอึดอัดท้อง
  10. ในเด็กที่มีการแพ้อาหาร หรือในเด็กที่ได้รับน้ำผลไม้บางอย่าง เช่น น้ำแอปเปิ้ล
  11. เด็กที่บิดา มารดา มีปัญหาทางอารมณ์
  12. มีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เด็ก โดยเฉพาะมีแบคทีเรียบางกลุ่มสัมพัมธ์กับการเกิดอาการโคลิก ซึ่งเมื่อลดแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวอาการโคลิกก็ลดลงได้

ลักษณะอาการร้องของเด็กเป็นอย่างไร

“เวลาร้อง เด็กจะงอขา งอตัว กำมือ”

เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโคลิกโดยตัดปัญหาอื่นๆออกไปแล้ว พ่อแม่ควรสบายใจว่าอาการนี้จะหายแน่นอนไม่เป็นอันตราย แต่ต้องใช้เวลาและพยายามลดความเครียดลง

รักษาโคลิกอย่างไร

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับภาวะโคลิก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่มีความพยายามลดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโคลิกซึ่งทำให้เด็กหลายรายมีอาการดีขึ้น ได้แก่

  1. ในลูกที่ดื่มนมแม่ แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็ก เช่น นมวัว
  2. ลดความเครียดในครอบครัว ให้พ่อแม่เข้าใจว่าโคลิกเป็นอาการที่เกิดชั่วคราว และจะหายได้เอง
  3. ในเด็กที่ต้องดื่มนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ อาจเลือกนมที่แพ้ได้น้อย.
  4. เมื่อให้เด็กดื่มนม หรือน้ำจากขวด ระวังอย่าให้มีอากาศแทรกเข้าไปตรงบริเวณที่เด็กดูดนม ต้องยกขวดให้สูงจนนมหรือน้ำเต็มบริเวณจุกขวดไม่มีอากาศแทรก
  5. หลังป้อนนมเด็กเสร็จแล้ว ควรจับให้นั่ง หรืออุ้มพาดบ่าให้เรอ
  6. ยาบางชนิดอาจช่วยได้ เช่น Simethicone (ยาลดแก็สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลดอาการท้องอืด) เป็นยาที่ใช้กันเป็นสามัญทั่วไป

ขณะเด็กร้อง ควรทำอย่างไร? ดูแลเด็กอย่างไร?

การให้เด็กหยุดร้องในเด็กที่มีอาการโคลิกนั้นค่อนข้างยากเด็กอาจหยุดร้องเป็นพักๆ หากเด็กระบายลมออกมาได้ หรือมีการขยับของลำไส้ อาการจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามขณะเด็กร้อง ให้ทำดังนี้

  1. ดูว่าเด็กร้องเพราะหิวนมหรือไม่ เพราะเด็กที่หิวนมก็จะร้องกวนพอได้กินนมจะหยุดร้อง
  2. อย่าให้เด็กอยู่ในที่ที่มีสิ่งกระตุ้น เช่นเสียงดัง แสงรบกวน
  3. จับเด็กอุ้มพาดบ่า เด็กจะรู้สึกสบายขึ้น และช่วยดันลมในท้องออกมาด้วย
  4. นวดเด็ก หรือเขย่าเบาๆไปมา ลูบหลังให้
  5. เปิดเพลงเบาๆให้ฟัง
  6. อย่าปล่อยให้เด็กร้องนานโดยไม่เข้าไปดูแล
  7. หาคนช่วยดูเด็ก เพื่อแม่จะได้พักบ้าง เช่น คุณพ่อช่วย หรือพี่เลี้ยงมาสลับ ไม่เช่นนั้นคุณแม่จะเครียดมาก

เมี่อไรจะไปพบแพทย์

ควรนำเด็กพบแพทย์/กุมารแพทย์/หมอเด็กเมื่อ

  1. เด็กมีอาการร้องมาก ร้องนานในครั้งแรกซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการ หรือความเจ็บป่วยอื่นๆที่อาจทำ
  2. ให้เกิดอาการคล้ายโคลิก ซึ่งแพทย์ขะซักประวัติอาการตรวจร่างกาย หรือหาวิธีการวินิจฉัยโรคอื่นๆ เพื่อตัดโรคที่ทำให้เกิดอาการคล้าย
  3. โคลิกออกไป เพื่อให้เด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
  4. เด็กมีการร้องมาก ร้องเป็นพักๆ หรือมีอาการผิดปกติอื่น เช่นมีไข้ตัวร้อน อาเจียน อุจจาระผิดปกติ เช่น อุจจาระมีสีแดงเหมือนแยม (Cerrant jelly stool) ซึ่งอาจเป็นอาการของลำไส้กลืนกัน การรีบไปพบแพทย์โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นมีอาการ จะทำให้การรักษาง่ายขึ้นอาจไม่ต้องผ่าตัด
  5. เด็กมีอาการร้องเลียนแหบ มีอาการหายใจผิดปกติ อาจต้องระวังเรื่องการสำลักสิ่งแปลกปลอม ต้องรีบพาแพทย์/โรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน

ทีมแพทย์กุมารเวช>>คลิ๊ก<<

เวลาทำการทุกวัน 24 ชม. โทรศัพท์ 1715 หรือ 034-417-999

คลินิคเด็กดี (เด็กฉีดวัคซีน) ต่อ 9211, 9212

คลินิคเด็กป่วย ต่อ 9221, 9222, 9223