นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน

บริษัทมีแนวทางในการจัดทํานโยบายด้านความยั่งยืนโดยมีเป้าหมายการจัดการในปี 2565 อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ มีเจตนารมณ์ในการทำเพื่อสังคมตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม โดยยึดมั่นในหลักจริยธรรมทางธุรกิจพร้อมส่งต่อจิตสำนึกที่ดีให้แก่พนักงานในทุกระดับและยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายอย่างมีคุณธรรม และได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในด้านจริยธรรมครอบคลุมทั้งองค์กร ลูกค้า และพนักงาน สรุปได้ดังนี้

  1. จรรยาบรรณต่อองค์กร การยึดมั่นอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน อาทิ มาตรฐานการรักษาพยาบาล ราคา และดำเนินงานอย่างโปร่งใสเป็นธรรม
  2. จรรยาบรรณต่อตนเอง ปลูกฝังให้พนักงานทุกคนมีความภาคภูมิใจในการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ส่งเสริมการสร้างวินัยในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รวมถึงการให้ความเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น อันจะส่งผลต่อความมีสำนึกในหน้าที่การให้บริการต่อลูกค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. จรรยาบรรณต่อเพื่อนร่วมงาน สนับสนุนให้มีกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในพนักงานทุกระดับโดยมุ่งหวังให้เกิดเป็นประเพณีอันดีงามของบริษัทฯ สืบต่อไป
  4. จรรยาบรรณต่อลูกค้า ลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ดังนั้นทุกขั้นตอนของการปฏิบัติการจะต้องสมบูรณ์ด้วยความรับผิดชอบ โดยยึดหลักสิทธิผู้ป่วย การรักษาพยาบาลตามมาตรฐานของสหสาขาวิชาชีพ และการให้บริการโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

กิจกรรมหลัก

ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ

    1. การจัดหายา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์การแพทย์ ที่มีคุณภาพทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการ
      • ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทําให้บริษัทต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการจัดหายา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรง ราคายา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีการปรับราคาสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการบริหารที่ดี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้รับบริการ โดยคำนึงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในการรักษาเป็นหลัก และด้วยสัมพันธภาพที่ดีกับคู่ค้ามายาวนาน การชำระเงินตรงเวลา ทําให้บริษัทเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจของคู่ค้า สามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ ได้อย่างเพียงพอและตรงตามความต้องการ และประหยัดต้นทุนในการสั่งซื้อ
    2. การให้คำปรึกษาและตรวจรักษาที่มีประสิทธิภาพ
      • นอกจากบริษัทจะเปิดให้บริการ ณ ที่ทําการของโรงพยาบาลเอกชัยแล้ว บริษัทยังดําเนินการให้บริการเชิงรุกเพื่อให้เข้าถึงผู้รับบริการได้มากที่สุด โดยการให้บริการตรวจรักษาในรูปแบบ Health Home Service เช่น ให้บริการพบแพทย์ผ่านโซเชียลมีเดียและจัดส่งยาให้ทางไปรษณีย์สําหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็นผู้ป่วยมีประวัติการรักษาเดิม ให้บริการทําแผลนอกสถานที่ฉีดวัคซีนให้กบบริษัทคู่สัญญาโดยที่ไม่ต้องมาโรงพยาบาล ตลอดจนการให้คําปรึกษาในด้านสุขภาพผ่าน Application Line นอกจากนี้ แล้วทางโรงพยาบาลได้วางแผนการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมโดยมีกระบวนการการจัดการสารเคมีและขยะอันตรายซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดจากกระบวนการให้บริการหลัก ซึ่งบริษัทกำหนดแนวทางเกี่ยวกับการดูแล จัดเก็บ และขนย้ายขยะวัตถุติดเชื้อและอันตราย โดยกำหนดเป็นนโยบายเรื่องการจัดการขยะในโรงพยาบาล ให้พนักงานทุกคนถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและกำหนดให้มีคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
    3. ศูนย์สุขภาพหรือโรงพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย
      • โรงพยาบาลเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการตรวจรักษา ตลอดจนมีการแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อให้การบริการรักษาเฉพาะทางมีความครอบคลุมมากขึ้นทั้งโรคที่มีความซับซ้อนและโรคเฉพาะทาง
    4. การตลาดและการขาย
      • การกำหนดค่าบริการและรักษาพยาบาลที่เหมาะสมและคุ้มค่า เพื่อให้มีความเป็นธรรมกับผู้ป่วยนอกที่สุด ตลอดจนภาครัฐมีมาตรการควบคุมราคายา  เวชภัณฑ์ และการบริการทางการแพทย์ ได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งบริษัทถือปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว
    5. การบริการหลังการขาย
      • ให้การติดตามและดูแลผู้ป่วยหลังการรักษาอย่างใกล้ชิด มีการโทรศัพท์ติดตามการนัดหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงตามกำหนดเวลา

กิจกรรมสนับสนุน (Support activities)

ในกิจกรรมหลักของห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจบริการนั้น บริษัทมีการพัฒนากิจกรรมสนับสนุนอย่างต่อเนื่องคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อที่จะได้นำความรู้ความสามารถนั้นมาพัฒนาคุณภาพการให้บริการ

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ

กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย การตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ภายในองค์กร
ผู้ถือหุ้น
  • ผลการดำเนินงานที่ดี และการเติบโตของธุรกิจ
  • ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการลงทุน
  • การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์
  • จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
  • มีการรายงานสารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างครบถ้วน
  • ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานผ่านแบบ 56-1 และรายงานประจำปีทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • แสดงข้อมูลของบริษัทผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท ekachaihospital.com
  • แจ้งข่าวการจัดประชุมผู้ถือหุ้น เผยแพร่งบการเงิน และการจ่ายเงินปันผล ผ่านทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์
  • ดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี
พนักงาน
  • รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน
  • ความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร
  • มีการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเรียนรู้
  • สำรวจความผูกพันของพนักงานปีละ 1 ครั้ง
  • เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างพนักงานผ่าน Application Line Group
  • พัฒนาทักษะและความรู้ในสายอาชีพให้กับพนักงาน
  • กำหนดเส้นทางความก้าวหน้า
  • การดูแลสุขภาพและอาชีวอนามัย
ภายนอกองค์กร
ลูกค้า
  • ความพึงพอใจต่อการรับบริการ
  • การรักษาข้อมูลส่วนตัว
  • ความปลอดภัยจากการรักษาพยาบาล
  • พัฒนาการให้บริการของพนักงานทั่วทั้งองค์กร
  • จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจในการรับบริการ
คู่ค้า
  • การสร้างคุณค่าร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ
  • ดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าทุกรายอย่างเสมอภาคและโปร่งใส
  • ชำระเงินให้กับคู่ค้าทุกรายตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
  • มีการติดต่อสื่อสารกับคู่ค้าเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี
ชุมชนและสังคม
  • พัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมรอบด้านให้ดีขึ้น
  • รับฟังข้อเสนอแนะจากชุมชน
  • ดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน
  • ให้ความรู้ด้านสุขภาพกับชุมชนท้องถิ่น

การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม

จากแนวคิด Green Hospital บริษัทฯ จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Environment of Care Committee) ซึ่งเป็นคณะทำงานที่รับผิดชอบ ติดตาม ควบคุม กำกับ ดูแล ให้ดำเนินตามมาตรการรักษาสภาพแวดล้อมภายในบริษัทฯ และป้องกันผลกระทบที่จะเกิดแก่ชุมชน ซึ่งได้มีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยโรงพยาบาลฯ

เพื่อให้ผู้มารับบริการ และผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาลฯ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นการแสดงความรับผิดชอบ ความตระหนักขององค์กรในด้านความปลอดภัยเป็นสำคัญ และเป็นข้อกำหนดหลักสำหรับทุกหน่วยงานที่ทุกหน่วยงานจะต้องมีการวิเคราะห์จัดวางระบบและนำลงสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและสอดคล้องกันทั้งองค์กร โรงพยาบาลฯ กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ดังนี้

  1. ความปลอดภัยด้านคลินิก สามารถให้หลักประกันในการระบุผู้ป่วยอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างผู้ให้การดูแลผู้ป่วย เน้นความปลอดภัยในการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ และปลอดภัยจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลฯ (Patient Safety Goal)
  2. ความปลอดภัยด้านผู้ปฏิบัติงานและอาชีวอนามัย เนื่องจากโรงพยาบาลฯ ถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญจึงให้ทุกฝ่ายปฏิบัติดังนี้
    1.  โรงพยาบาลฯ ถือว่าความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคน ทุกระดับที่จะร่วมมือกันปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น
    2. โรงพยาบาลฯ จะดำเนินการปรับปรุง ดูแล สถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะและมีความปลอดภัยอยู่เสมอ ไม่ไห้เกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายทั้งแก่ผู้รับบริการ สังคม และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ตลอดจนสนับสนุนการใช้เครื่องป้องกันอันตรายที่เหมาะสม
    3. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
    4. โรงพยาบาลฯ จะส่งเสริมและป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานในทุกกรณีและจะส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี
  3.  นโยบายด้านการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม โรงพยาบาลฯ จะป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทก่อให้เกิดมลภาวะแก่สภาพแวดล้อม และจะปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานอยู่เสมอเพื่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และลดการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดการทำลายสภาพแวดล้อมและลดการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย
  4. โรงพยาบาลฯ มีการกำหนดแผนการจัดการเมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ตามความเหมาะสม
  5. ดำเนินการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และรายงานการตรวจติดตาม ตามกฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน

ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

นอกจาก โรงพยาบาลฯ จะมุ่งเน้นการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายในโรงพยาบาลฯ และจัดทำรายงานการปฏิบัติตามมาตรการปีละ 2 ครั้ง ตามกำหนดของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เปิดดำเนินการให้บริการ โดยรายงานจะประกอบไปด้วยข้อมูลที่สอดคล้องกับมาตรการการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดังนี้

อุทกวิทยาและการบำบัดน้ำเสีย

  1. มีการกักเก็บน้ำสำรอง 364 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีความเพียงพอสำหรับกรณีฉุกเฉินรองรับการใช้น้ำประปาที่ 1.33 วัน มีการบำรุงรักษาท่อน้ำและถังเก็บน้ำปีละครั้งเพื่อให้อยู่ในสภาพดี สะอาดอยู่เสมอ และมีการส่งตัวอย่างน้ำเพาะเชื้อเป็นประจำทุกเดือน
  2. มีบ่อบำบัดน้ำเสียที่มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณน้ำทิ้งของโรงพยาบาลในแต่ละวัน มีการบำบัดจุลินทรีย์ชีวภาพ มีการตรวจคุณภาพน้ำทิ้งทุก 3 เดือน
  3. มีการบำบัดน้ำเสียเพื่อให้ค่า Biochemical Oxygen Demand (BOD) ลดลงเหลือไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ก่อนระบายสู่รางระบายน้ำสาธารณะ ตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์พลังงาน

บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายให้การใช้พลังงานทุกประเภทมีประสิทธิภาพและลดการสูญเสียพลังงานที่ไม่จำเป็น โดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพการบริการลดลงมาตรการการประหยัดพลังงาน ที่เป็นแนวทางการปฏิบัติในองค์กรเช่น ปิดไฟส่องสว่างในที่มีแดดส่องถึง ปิดสวิตช์ทุกครั้งที่เลิกใช้งาน เดินขึ้น-ลงบันได 1-2 ชั้นแทนการใช้ลิฟต์ ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ปิดไฟแสงสว่าง เครื่องปรับอากาศและคอมพิวเตอร์ระหว่างพักเที่ยง ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเลิกงาน 15-30 นาที เป็นต้น และในปี 2564 นี้ ได้มีการเริ่มใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยร่วมมือกับ บริษัท เค.จี.โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด ติดตั้งแผง Solar Rooftop บนชั้นดาดฟ้า หลังคาอาคาร หลังคาที่จอดรถ เพื่อผลิตพลังงานสะอาดใช้ในโรงพยาบาลฯ และจำหน่ายคืนให้กับบริษัท เพื่อเพิ่มรายได้และเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การจัดการขยะมูลฝอย

โรงพยาบาลฯ มีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย และเปลี่ยนถุงรองรับขยะมูลฝอยเป็นประจำทุกวัน วันละ 2 ครั้ง จากนั้นจึงนำขยะที่รวบรวมได้ไปไว้ยังห้องพักขยะมูลฝอยรวมซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังโครงการ เพื่อรอการเก็บขนไปกำจัดต่อไป โดยโรงพยาบาลฯ มีระบบการจัดการขยะตั้งแต่การคัดแยกขยะที่จุดกำเนิดของขยะ แบ่งขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะรีไซเคิล และขยะพิษ และมีที่รองรับขยะอย่างเพียงพอได้มาตรฐาน ส่วนการกำจัดขยะจะกำจัดตามประเภทของขยะ โดยขยะทั่วไป และขยะพิษจะกำจัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ส่วนขยะติดเชื้อ จะกำจัดโดยบริษัทภายนอก ทุกวันอังคาร วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ และขยะรีไซเคิลจะมีการรวบรวมและจำหน่ายเศษซาก 2 ครั้งต่อเดือน ซึ่งทางโรงพยาบาลฯ มีการทบทวนและอบรมเป็นประจำทุกปี

การป้องกันอัคคีภัย

  1. จัดยามรักษาการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคอยตรวจตราดูแลระบบความปลอดภัยของผู้มาใช้บริการ
  2. จัดให้มีป้ายแสดงเส้นทางหนีไฟและตำแหน่งของอุปกรณ์ถังดับเพลิงรวมทั้งวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างชัดเจน
  3. จัดให้มีระบบตรวจจับเพลิงไหม้ ได้แก่ Smoke Detector และ Heat Detector และสวิทซ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
  4. จัดให้มีระบบสัญญาณเสียงแบบกระดิ่ง (Alarm Detector) เพื่อแจ้งเหตุเพลิงไหม้
  5. จัดให้มีตู้อุปกรณ์ดับเพลิง (Fire Hose System) และถังเคมีดับเพลิงชนิดมือถือ (Fire Extinguisher) ในทุกชั้นภายในอาคารโรงพยาบาลฯ
  6. จัดให้มีระบบฉีดพ่นอัตโนมัติ (Sprinkler) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดทุกชั้นของอาคารโรงพยาบาล

การจัดการด้านความปลอดภัย

เพื่อให้ผู้มารับบริการ และผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาลฯ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นการแสดงความรับผิดชอบ ความตระหนักขององค์กรในด้านความปลอดภัยเป็นสำคัญ และเป็นข้อกำหนดหลักสำหรับที่ทุกหน่วยงานจะต้องมีการวิเคราะห์จัดวางระบบและนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและสอดคล้องกันทั้งองค์กร โรงพยาบาลฯ ได้กำหนดนโยบายดังนี้

  1. ความปลอดภัยด้านคลินิก สามารถให้หลักประกันในการระบุผู้ป่วยอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างผู้ให้การดูแลผู้ป่วย เน้นความปลอดภัยในการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ และปลอดภัยจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลฯ กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety Goal)
  2. ความปลอดภัยด้านผู้ปฏิบัติงานและอาชีวอนามัย เนื่องจากโรงพยาบาลถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญจึงให้ทุกฝ่ายปฏิบัติดังนี้
    1. โรงพยาบาลฯ ถือว่าความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคน ทุกระดับที่จะร่วมมือกันปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น
    2. โรงพยาบาลฯ จะดำเนินการปรับปรุง ดูแล สถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะและมีความปลอดภัยอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายทั้งแก่ผู้รับบริการ สังคม และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ตลอดจนสนับสนุนการใช้เครื่องป้องกันอันตรายที่เหมาะสม
    3. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
    4. โรงพยาบาลฯ จะส่งเสริมและป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานในทุกกรณีและจะส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี

การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นวิกฤติการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกประเทศทั่วโลก วิกฤติการณ์ดังกล่าวเป็นผลจากธรรมชาติและการกระทําของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ความแห้งแล้ง น้าท่วม ภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งมีผลกระทบต่อเนื่อง ไปสู่ภาคเกษตรกรรม ห่วงโซ่อาหารความเป็นอยู่ของประชาชน ภาวะทางโภชนาการ การระบาดของโรค ซึ่งล้วนแต่เป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทําให้เกิดสภาวะโลกร้อนอันเกิดจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นหลายชนิด

บริษัทให้ความสําคัญกับการจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าชเรือนกระจกมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และกฎหมายกำหนด โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาดําเนินการจัดทําข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม บริษัทมีความตั้งใจในการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกเพื่อลดมลพิษที่จะปล่อยออกสู่อากาศผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในโรงพยาบาล ได้แก่

  1. โรงพยาบาลเลือกใช้ถุงกระดาษสําหรับใส่ยากลับบ้าน
  2. ใช้รถยนต์ไฟฟ้าสําหรับรับส่งผู้ป่วยระหว่างลานจอดรถมายังอาคาร
  3. กำหนดนโยบายการงดสูบบุหรี่ในทุกพื้นของโรงพยาบาล
  4. มาตรการงดเว้นการเผาขยะเศษใบไม้ในทุกพื้นที่ของโรงพยาบาลเอลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ ไนโตรเจนไดออกไซต์ สารอินทรีย์ระเหย รวมทั้งฝุ่นละออง ควัน เถ้า เขม่าในอากาศ
  5. ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานสะอาดใช้ในโรงพยาบาลฯ เป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ โรงพยาบาลฯ ยังผ่านการรับรองจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการสิ่งแวดล้อมดีเด่น (EIA Monitoring Award) ประเภทรางวัลดีเด่น 4 ครั้งติดต่อกันในปี 2552 ปี 2554 ปี 2556 และ ปี 2560 ซึ่งจะต้องมีการรายงานทุก 6 เดือนและมีกำหนดการดำเนินการและติดตามผลกระทบ 11 ด้าน คือ (1) ลักษณะภูมิอากาศ ฝุ่นละออง ความสั่นสะเทือน ระดับเสียงและความร้อน (2) อุทกวิทยาและคุณภาพน้ำ (3) ระบบประปา/การใช้น้ำ (4) การใช้ประโยชน์ที่ดิน (5) การจัดการขยะมูลฝอย (6) ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม (7) การกำจัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล (8) การคมนาคม (9) การใช้ไฟฟ้าและพลังงาน (10) สาธารณสุขอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (11) ทัศนียภาพและสภาพธรรมชาติอันควรอนุรักษ์

การจัดการความยั่งยืนในมิติสังคม

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม

บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม ที่สอดคล้องกับกฎหมายระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการจัดการด้านสังคมในกระบวนการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่ามีการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและรับผิดชอบต่อผู้รับบริการพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย

ผลการดำเนินงานด้านสังคม

การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

บริษัทฯ ไม่ใช้วิธีการให้เงินหรือสิ่งของแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เพื่อชักนำให้กระทำหรือละเว้นกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่าง ไม่ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ไม่พึงประสงค์ให้พนักงานรับเงินหรือสิ่งของที่มีค่าเกินปกติวิสัยจากผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ หากการรับนั้นอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่า ผู้รับมีใจเอนเอียงหรือมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจอื่นๆ เป็นพิเศษกับผู้ให้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการรับประโยชน์และการเกี่ยวข้องทางการเงินกับผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัทฯ พนักงานย่อมไม่เรียกรับหรือยินยอมจะรับเงิน สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัทฯ

ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติแบบสมัครใจโดยภาคเอกชนที่จะร่วมมือในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต ด้วยการสร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่ถูกต้องและโปร่งใส ตลอดจนการสร้างมาตรฐานด้านจริยธรรมทางธุรกิจที่สูงขึ้น บริษัทฯ ได้ยื่นคำประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption) เพื่อสร้างความมั่นใจในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านการทุจริต ต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ และสังคมไทยโดยรวม

การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม

บริษัทฯ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยได้จัดทำนโยบายความปลอดภัยขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานทุกคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของบริษัทฯ มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ดี ส่งผลต่อการมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุง ดูแล สถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะและมีความปลอดภัยอยู่เสมอ ไม่ไห้เกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายทั้งแก่ผู้รับบริการ สังคม และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ตลอดจนสนับสนุนการใช้เครื่องป้องกันอันตรายที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมและป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานในทุกกรณีและจะส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี และยังเข้าร่วมโครงการโรงพยาบาลสีขาว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พนักงานเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้การดูแลสวัสดิการแก่พนักงานในด้านต่างๆ อาทิเช่น การให้บริการคลอดบุตรฟรี การให้เงินช่วยเหลือหลังคลอด การให้สวัสดิการรักษาพยาบาล การตรวจสุขภาพประจำปี การจัดงานวันเกิดและให้ของขวัญวันเกิดแก่พนักงาน การทำบุญใส่บาตรประจำทุกเดือน การจัดกิจกรรมสันทนาการให้แก่พนักงานในโอกาสต่างๆ การจัดเวทีเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีโอกาสนำเสนอเรื่องต่างๆ ให้กับผู้อำนวยการโรงพยาบาลโดยตรง การส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ รวมทั้งการจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อความมั่นคงของพนักงานหลังเกษียณ

ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

บริษัทฯ มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคหรือ “ลูกค้า” ที่บริษัทฯ ถือได้ว่าเป็นผู้มีความสำคัญที่สุด ฉะนั้น บริษัทฯ จึงกำหนดจรรยาบรรณทางธุรกิจกับลูกค้าไว้เป็นแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ความปลอดภัยด้านคลินิก สามารถให้หลักประกันในการระบุผู้ป่วยอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างผู้ให้การดูแลผู้ป่วย เน้นความปลอดภัยในการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ และปลอดภัยจากการติดเชื้อในบริษัทฯ กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety Goal)
  • มีความรับผิดชอบ บริษัทฯ จะต้องพยายามหาทางแก้ไข และรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยความเต็มใจความรับผิดชอบเหล่านี้จะช่วยสร้างความอุ่นใจ ประทับใจ เชื่อถือ และศรัทธาเกิดขึ้นกับลูกค้า ธุรกิจจะได้รับการยกย่อง และมีภาพพจน์ที่ดีในสังคมต่อไป
  • ให้การบริการโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง และคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยเป็นสำคัญ
  • ให้บริการที่ดี การให้บริการที่ดีกับลูกค้า จะทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวก รวดเร็ว มีความศรัทธาและประทับใจภายใต้คำขวัญ “สัมผัสจากใจ ห่วงใยดูแลคุณ”
  • ต้องให้ความยุติธรรมและรักษาประโยชน์ให้กับลูกค้า บริษัทฯ จะต้องให้ความเป็นธรรมและให้สิทธิประโยชน์กับลูกค้าทุกรายเท่าเทียมกัน
  • การดูแล เยี่ยมเยียนหลังการใช้บริการ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สร้างความประทับใจให้ลูกค้า เอาใจใส่ดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ การเอาใจใส่ดูแลสม่ำเสมอก็ถือว่าเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความอบอุ่นประทับใจและเกิดความศรัทธาที่ดีกับบริษัทฯ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังผ่านการรับรองจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการสิ่งแวดล้อมดีเด่น (EIA Monitoring Award) ประเภทรางวัลดีเด่น 4ครั้งติดต่อกันในปี 2552ปี 2554 ปี 2556และปี 2559 เป็นการยืนยันถึงความตั้งใจในความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจในการทำงานต่อไป

การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

บริษัทฯ ได้สนับสนุนให้จัดกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ทั้งพื้นที่ภายในจังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารอย่างสม่ำเสมอ เช่น

  1. มอบหน้ากากอนามัย จำนวน 25,000 ชิ้น สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร กรมราชทัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19
  2. มอบถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง และข้าวกล่อง จำนวน 400 ชุด ให้กับผู้อาศัยในชุมชนวัดมะกอกกลางสวน กรุงเทพมหานคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงสถานการณ์โควิด-19
  3. มอบเงินช่วยเหลือ จำนวน 630,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เพื่อฟื้นฟูอาคาร สถานที่และซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่เสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัย เมื่อเดือนกันยายน 2564
  4. มอบเครื่องดื่มนมถั่วเหลือง และของสนับสนุน ผ่านสมาคมคนพิการ สมุทรสาคร สำหรับกิจกรรมเนื่องในวันคนพิการสากล 3 ธันวาคม 2564