บริษัทฯ ตระหนักถึงความสําคัญของการบริหารความเสี่ยงซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี โดยเชื่อมั่นว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือในการบริหารงาน อีกทั้งช่วยลดอุปสรรคหรือสิ่งที่อาจมีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

1. ความเสี่ยงด้านการแข่งขัน

จากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจด้านสุขภาพอนามัยเพิ่มขึ้น ทําให้ประชาชนมีอายุยืนยาวขึ้น และมีความต้องการด้านรักษาพยาบาลหรือตรวจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลต่างๆ จึงได้มีการปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว เช่น โรงพยาบาลของรัฐได้มีการให้บริการรักษาพยาบาลในรูปแบบของเอกชนเพิ่มเติม ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนมีการควบรวมเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด และขยายการให้บริการให้ครอบคลุมไปยังพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น รวมถึงการลงทุนในเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ การปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการ และการประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันในการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มสูงขึ้น

สําหรับพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและพื้นที่ใกล้เคียงโรงพยาบาลฯ มีโรงพยาบาลเอกชนซึ่งเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไปเช่นเดียวกับโรงพยาบาลฯ หลายแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งต่างมีความเชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลแตกต่างกัน เช่น อายุรกรรมโรคหัวใจ อายุรกรรมระบบประสาท อายุรกรรมทางเดินอาหาร เป็นต้น โดยโรงพยาบาลฯ มีความเชี่ยวชาญในด้านสูติ-นรีเวช และด้านกุมารเวชที่มีกุมารแพทย์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงรวมทั้งมีศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉินที่ได้รับความไว้วางใจจากหน่วยกู้ชีพและมูลนิธิต่างๆ ประกอบกับ โรงพยาบาลฯ ยังได้ทําการสํารวจค่าบริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ใกล้เคียงอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อให้มั ่นใจได้ว่าค่าบริการของโรงพยาบาลฯ สามารถแข่งขันได้ และยังมีกิจกรรมทางการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ใช้บริการเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลฯ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในแบบออนไลน์และออฟไลน์รวมถึงมีการจัดกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ อาทิ การจัดกิจกรรม ”หนูน้อย นักคลาน” การประกวด “หนูน้อยเอกชัย” การจัดหน่วยปฐมพยาบาลในการจัดงานของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ และการจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพให้กับลูกค้าคู่สัญญา รวมทั้งยังมีบริการโปรแกรมตรวจสุขภาพต่าง ๆ ที่หลากหลายครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้บริการในทุกเพศ ทุกวัย ทําให้โรงพยาบาลฯ มั่นใจว่าสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความเสี่ยงจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์

ทรัพยากรที่สําคัญที่สุดสําหรับการให้บริการทางการแพทย์ คือ บุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เป็นต้น โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความชํานาญเฉพาะทาง จากการที่การแข่งขันในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ทําให้ความต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น และเกิดการดึงตัวบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถระหว่างโรงพยาบาล ซึ่งอาจทําให้โรงพยาบาลฯ มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลฯ เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดตามการเติบโตของโรงพยาบาลฯ นอกจากนี้ แพทย์เฉพาะทางซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์ที่มีชื่อเสียง มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และเป็นแพทย์ประจําของโรงพยาบาลฯ ส่วนใหญ่ร่วมงานกับโรงพยาบาลฯ มามากกว่า 5 ปี ซึ่งบางรายร่วมงานตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลฯ ได้มีการกําหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม รวมถึงได้มีการตกลงช่วงเวลาออกตรวจตามความต้องการของแพทย์ ทําให้การลาออกของแพทย์ประจําของโรงพยาบาลฯ อยู่ในอัตราที่ตํ่า นอกจากนี้ โรงพยาบาลฯ ยังมีการว่าจ้างแพทย์นอก เวลาเพื่อที่จะสามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังได้มีการสรรหาแพทย์เพิ่มเติม และส่งเสริมแพทย์ที่มีอยู่ในด้านการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในสาขาวิชาเฉพาะทางอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อวิทยาการ และความก้าวหน้าของวงการแพทย์

สําหรับพยาบาลนั้น โรงพยาบาลฯ ได้ให้การสนับสนุนด้านทุนการศึกษากับ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันศึกษาต่าง ๆ และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอบรมพยาบาล-ผู้ช่วยพยาบาลอื่น ๆ ในด้านการฝึกอบรม ทําให้มีพยาบาลเข้ามาร่วมงานกับโรงพยาบาลฯ อย่างต่อเนื่อง และโรงพยาบาลฯ ยังมีนโยบายค่าตอบแทนและสวัสดิการที่แข่งขันได้ ทําให้อัตราการลาออกของพยาบาล อยู่ในระดับตํ่าเช่นกัน โดยในปี 2565 อัตราการลาออกเฉลี่ยของพยาบาลประจําของโรงพยาบาลฯ คิดเป็นร้อยละ 2.0 ต่อเดือน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับวิทยาลัยพยาบาลต่าง ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของโรงพยาบาลในอนาคต

ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีการจัดประชุมวิชาการ ฝึกอบรมทางการแพทย์ในด้านต่าง ๆ รวมถึงส่งบุคลากรทางการแพทย์ไปสัมมนาอบรมภายนอก เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ให้ทันต่อวิทยาการและความก้าวหน้าของวงการแพทย์ และจูงใจให้บุคลากรทางการแพทย์ดังกล่าวทํางานกับโรงพยาบาลฯ ต่อไป

3. ความเสี่ยงจากการรับชาระค่ารักษาพยาบาล

ตามจรรยาบรรณในการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ที่จะดําเนินการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ใช้บริการก่อนเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงไม่สามารเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ใช้บริการได้ภายหลังการรักษา

บริษัทฯ มีการป้องกันความเสี่ยงจากการรับชําระค่ารักษาพยาบาลของลูกค้าทุกประเภท สําหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน เช่น ในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลฯ จะประเมินค่าใช้จ่ายสําหรับการรักษาพยาบาลล่วงหน้า เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงงบประมาณ และจะมีการแจ้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้บริการทราบเป็นระยะทุก 3 วันหรือเมื่อมีค่าใช้จ่ายครบทุก 20,000 บาท และให้ทยอยการชําระ ในกรณีที่เป็นลูกค้าที่ใช้สิทธิในการรักษาที่มีสัญญากับโรงพยาบาล ก็จะทําการตรวจสอบสิทธิในเบิกค่ารักษา บริษัทฯ ยังมีการให้เครดิตกลุ่มลูกค้าคู่สัญญา โดยพิจารณาจากฐานะทางการเงินของคู่สัญญาเพื่อลดความเสี่ยงในการค้างชําระและการเก็บเงิน นอกจากนี้ ในด้านการติดตามหนี้ บริษัทฯ ยังได้กําหนดนโยบายการติดตามหนี้ที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงกําหนดตัวชี้วัดของพนักงานติดตามหนี้เพื่อให้การติดตามหนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. ความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้อง

ผู้ใช้บริการทางการแพทย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การรักษาพยาบาลตลอดจนโรงพยาบาลฯ ได้ หากเกิดความผิดพลาดหรือเกิดความไม่พอใจในการรักษา ทําให้โรงพยาบาลฯ มีความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้อง และอาจส่งผลกระทบถึงผลการดําเนินงานของโรงพยาบาลฯ ได้

เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โรงพยาบาลฯ ได้ให้ความสําคัญกับคุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงกระบวนการในการรักษาพยาบาลให้เป็นไปอย่างถูกต้อง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยและได้มาตรฐานเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นระหว่างการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ โรงพยาบาลฯ ยังมีการประเมินคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างสมํ่าเสมอ โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในโดยทําการประเมินความเห็นของผู้ใช้บริการทุกวัน เพื่อนําเข้าประชุมผู้บริหารรายวัน เพื่อตอบสนองข้อร้องเรียนที่สําคัญ
ในทันที นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการพัฒนาบริการ (Service with a Heart) นําข้อมูลไปจัดทําแผนพัฒนาบริการประจําทุกปี เพื่อนํามาปรับปรุงการให้บริการ และยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee)
เพื่อดําเนินการเฝ้าระวังปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การจัดการข้อร้องเรียนในความรุนแรงระดับต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วเหมาะสม พร้อมทั้งสรุปรายงานปัญหาให้ผู้บริหารทราบทุกเดือน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทฯ ไม่มีคดีความฟ้องร้องเกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์

5. ความเสี่ยงจากการเกิดโรคระบาด

จากสภาพแวดล้อม สภาพอากาศที่แปรเปลี่ยน กอปรกับการเกิดโรคระบาดต่างๆ เช่น โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ RSV หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถแพร่กระจายได้ ส่งผลต่อการเข้ารับบริการของผู้ที่ต้องมาใช้บริการ ทางการแพทย์ เนื่องจากเกิดความกังวลต่อการติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้จัดตั้งจุดคัดกรองเพื่อซักประวัติ พร้อมทั้งได้ให้บริการเจลล้างมือแอลกอฮอลล์ตามจุดต่าง ๆ และเน้นการทําความสะอาดฆ่าเชื้อตามพื้นที่และจุดให้บริการ ทุกจุดในโรงพยาบาล โดยเฉพาะจุดที่มีความเสี่ยงอย่างสมํ่าเสมอ ตามมาตรฐานและข้อกําหนดของสาธารณสุข รวมถึงการสื่อสารกับผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับรูปแบบการบริการให้สอดคล้อง กับสถานการณ์

6. ความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจถดถอย

จากสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย กระทบต่อการดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบการหลายแห่ง ซึ่งมีบางกิจการได้ปิดตัวลงส่งผลทําให้เกิดการเลิกจ้างพนักงานเป็นจํานวนมาก ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวล มีการใช้จ่ายน้อยลง รวมทั้งการใช้จ่ายในด้านสุขภาพ ซึ่งหากเกิดการเจ็บป่วยและไม่รุนแรง จะหาซื้อยารับประทานเอง

อย่างไรก็ตาม ผู้มารับบริการของโรงพยาบาลเน้นกลุ่มลูกค้าคู่สัญญา หรือผู้ที่ทําประกันสุขภาพกับบริษัทประกันประกอบกับความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ และผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในฐานะระดับกลางขึ้นไปที่มีกําลังซื้อเพียงพอ มีความไว้วางใจในการเข้ารับบริการทางการแพทย์ อีกทั้งโรงพยาบาลได้มีการปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบไม่มากนัก

7. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและมาตรการของรัฐ

บริษัทฯ ดําเนินธุรกิจภายใต้การกํากับดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข และจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทําให้ภาครัฐมีการกําหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการรักษาพยาบาล อาทิ นโยบาย UCEP ที่กําหนดให้ประชาชนที่เจ็บป่วยจากโควิดสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาลที่ใกล้ที่สุดทั้งภาครัฐและเอกชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือนโยบายที่กําหนดให้ยาและเวชภัณฑ์เป็นสินค้าควบคุมล้วนส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของโรงพยาบาลเอกชน

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรการของรัฐที่ออกมาควบคุมอย่างเคร่งครัด โดยมีหน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการบริการสาธารณสุข เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัท

8. ความเสี่ยงจากการลงทุนในโครงการโรงพยาบาลคูน

บริษัท เอกชัย เนอร์สซิ่งโฮม จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ลงทุนก่อสร้างโรงพยาบาลคูน เพื่อดําเนินธุรกิจ โรงพยาบาลเฉพาะทางสําหรับผู้สูงอายุและดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ด้วยอาคาร 5 ชั้น ขนาด 30 เตียง บนพื้นที่ 1-1-96 ไร่ โดยมีสัญญาเช่า 18 ปี เงินลงทุนประมาณ 130 ล้านบาท และเปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ดังนั้น หากโครงการมีผู้ใช้บริการน้อยกว่าที่ประเมินไว้ อาจส่งผลกระทบทําให้การดําเนินงานของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา มีผู้เข้ารับบริการอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องด้วยข้อจํากัดของบุคลากรทางการแพทย์ ทําให้สามารถรองรับผู้เข้ารับบริการได้เพียงร้อยละ 50 ของจํานวนเตียงทั้งหมด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ทําการสรรหาบุคลากรเฉพาะด้านที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถรองรับผู้รับบริการได้เพิ่มขึ้น

9. ความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทร่วม

เนื่องจากบริษัทฯ มีการขยายธุรกิจในธุรกิจอื่น ผลการดําเนินงานของบริษัทร่วมอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัททั้งในเชิงบวกและลบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของบริษัทและเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการลงทุนของบริษัท จึงได้กําหนดมาตรการเพื่อป้องกันความเสี่ยง โดยการมอบหมายให้ตัวแทนของบริษัทเข้าดํารงตําแหน่งกรรมการในบริษัทร่วม เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการดําเนินกิจการในบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทร่วมมีระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

10. ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงบริการแก่ลูกค้าในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาจเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ปัจจุบันมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ซับซ้อน และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม บริษัท ได้มีการเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ มีมาตรการความปลอดภัยที่รัดกุม และเตรียมการให้พร้อมรับมือต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของบริษัท ผู้รับบริการ รวมทั้งเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบเมื่อเกิดเหตุการณ์

11. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้าต่างชาติ

รายได้ของศูนย์ผู้มีบุตรยากซึ่งดําเนินธุรกิจภายใต้ บริษัท เอกชัย อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด สัดส่วนร้อยละ 90 มาจากผู้รับบริการชาวจีน ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา ประเทศจีนได้กําหนดนโยบายการเดินทางออกนอกประเทศ ส่งผลต่อการเดินทางของผู้รับบริการชาวจีน

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ความไม่ แน่นอนที่เกิดขึ้น โดยได้มีการติดต่อกับ Agency ชาวจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับทราบถึงสถานการณ์ของประเทศจีน และเตรียมความพร้อมการเดินทางเข้ามาของกลุ่มผู้รับบริการในอนาคต อีกทั้ง ได้ขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มเติม อาทิ ประเทศเวียดนาม ประเทศอินเดีย เป็นต้น