สิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คือการดูแลสุขภาพ เพื่อลูกน้อยจะได้มีสุขภาพแข็งแรง และหากสามารถออกกำลังกายได้ในช่วงตั้งครรภ์ ถือว่าดีมาก เพราะจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น ไม่ปวดหลัง ไม่เป็นตะคริว นอนหลับสบาย แต่ทั้งนี้ก็จะมีกีฬาไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่คุณแม่สามารถเล่นได้ และต้องได้รับการยืนยันจารกแพทย์ และอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่อาจต้องพบต้องพบกับอาการแทรกซ้อนหลายอย่าง คุณแม่จะมีวิธีรับมือและดูแลตัวเองให้บรรเทาลงจากอาการต่างๆ ได้อย่างไร ?

1. รู้สึกไม่สบายตอนเช้า

อาการป่วยในยามเช้าเชื่อกันว่ามีความเกี่ยวพันกับระดับฮอร์โมน hCG ที่ผลิตออกมามากในช่วงตั้งครรภ์ เวลาที่คุณแม่ตื่นนอนตอนเช้า มักที่จะรู้สึกไม่ค่อยสบายได้นั้น บางครั้งมักมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาการที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งช่วงตื่นนอนตอนเช้า และช่วงที่ท้องว่าง

การแก้ไข : ให้คุณหาแครกเกอร์ทานสัก 2 – 3ชิ้น แล้วดื่มน้ำตามเพื่อให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น การจิบน้ำขิงอุ่นๆ จะช่วยให้อาการไม่สบายดีขึ้น และยังช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี

2. ปวดศีรษะ

บ่อยครั้งที่คุณแม่จะพบว่าจะมีอาการปวดหัวอยู่บ่อยๆ ในตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุอาจมาจาก ความเครียด การลุกนั่งที่ผิดจังหวะ หรือในคุณแม่ที่เคยดื่มกาแฟพอท้องก็งดกาแฟ ก็ทำให้ปวดหัวได้เหมือนกัน

การแก้ไข : อาการเหล่านี้สามารถบรรเทาด้วยการหาเวลาผ่อนคลาย เช่น การออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ที่ต่างจังหวัด ออกกำลังกายเบาๆ หรือการนั่งสมาธิก็ช่วยได้มากกลิ่นลาเวนเดอร์ เป็นกลิ่นที่ทำให้รู้สึกสดชื่น รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ลดอาการปวดศีรษะจากความเครียด

3. ปวดหลัง

การแบกรับน้ำหนักครรภ์มากๆ จะมีผลต่อหลังของคุณแม่ตั้งครรภ์ ในไตรมาสที่สองเข้าสู่ไตรมาสที่สาม ขนาดของครรภ์ใหญ่ขึ้น ยิ่งทำให้ความสมดุลของร่างกายค่อนข้างทิ้งน้ำหนักไปที่หลัง รวมทั้งเท้าทั้งสองข้างด้วย การปวดหลังของคุณแม่จะทำให้ไม่สบายตัว

การแก้ไข : คุณแม่อาจหาหมอนใบกลางๆ มาหนุนไว้ที่บริเวณหลัง และหนุนรองระหว่างข้อพับขา ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังขณะนอนหลับ ทำให้นอนหลับได้สบายขึ้น น้ำมันลาเวนเดอร์สามารถใช้นวดบรรเทาอาการปวดหลังช่วงล่างได้เป็นอย่างดี

4. เป็นตะคริวที่ขา

 คุณแม่ท้องมักเป็นตะคริวที่ขา สาเหตุมีได้หลายปัจจัย อาทิ การหมุนเวียนของโลหิต, ช่วงนอนตอนกลางคืนแล้วเท้าไม่อบอุ่น หรือเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณขา

การแก้ไข : สวมถุงเท้าเวลานอนตอนกลางคืน , ดื่มนมอุ่นๆ ก่อนนอน การทานอาหารที่มีปริมาณแมกนีเซียมและแคลเซียม อย่างผักใบเขียว ถั่วอบแห้ง จะช่วยลดอาการเป็นตะคริวลงได้

 5. เท้าบวม

ช่วงตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะมีของเหลวมากขึ้นตลอดเวลา 9 เดือน ของเหลวนี้จะไปสะสมที่ข้อเท้าและเท้า ทำให้การหมุนเวียนเลือดในขาลดลง เป็นผลให้เท้าบวม สามารถลดอาการบวมได้ง่ายๆ อย่างเวลาที่นั่งก็ให้หาเก้าอี้ตัวเล็กที่มีความสูงให้สามารถยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นแล้วให้ขนานกับหน้าท้อง รวมทั้งลดการทานอาหารเค็ม เพราะการทานเค็มก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอาการบวม

การแก้ไข : คุณแม่สามารถบรรเทาอาการบวมได้ด้วยการนวดน้ำมันเจอราเนียม ที่บริเวณเท้าเบาๆ เป็นการช่วยกระตุ้นระบบน้ำเหลืองให้ทำงานได้ดีขึ้นลดอาการเท้าบวมลงได้

ทีมแพทย์สูติ-นรีเวช >>คลิ๊ก<<

เวลาทำการ

วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี เวลา 8.00 – 20.00 น. วันศุกร์ เวลา 8.00 – 19.00 น. วันเสาร์ เวลา 8.00 – 15.00 น. วันอาทิตย์ เวลา 8.00 – 16.00 น. โทรศัพท์ 1715 หรือ 034-417-999  ต่อ 221, 222