ต้อหินชนิดเรื้อรัง

โรคของดวงตาที่ดูจากภายนอกเหมือนตาคนปกติทั่วไป มีสาเหตุจากเซลล์และใยประสาทภายในลูกตาได้รับเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์และใยประสาทตาค่อยๆ ขาดเลือด เฉาตายไปเรื่อยๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว จะทราบก็ต่อเมื่อสายตามใกล้บอดเสียแล้ว นับวันจะพบผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประชากร 70 ล้านคนทั่วโลก กำลังป่วยด้วยโรคนี้ และ 10 % ของผู้ป่วยเหล่านี้ ตาบอดแล้วทั้งสองข้าง (ตาบอดใส) ศูนย์วิจัยโรคต้อหินทั่วโลกในขณะนี้ กำลังขมักเขม้นทุ่มทุนมหาศาลทำการวิจัย เพื่อหาหนทางรักษาโรคต้อหินให้หายขาด ในประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคต้อหินเรื้อรัง ประมาณ 2 % ของประชากร และผู้ป่วยเหล่านี้ประมาณ 1.4 แสน คน ตาบอดหรือใกล้บอดแล้ว

Eye

สาเหตุของโรคต้อหิน

เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างการใช้สายตา(Demand) และปริมาณเลือดแดงที่เข้ามาเลี้ยงเซลล์ประสาทภายในลูกตา(Supply) ทำให้เซลล์ประสาทตาได้รับเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ และค่อยๆทยอยเฉาตายลงไปเรื่อยๆ หากมีความดันลูกตาที่สูงกว่าปกติร่วมด้วยแม้เป็นเพียงสาเหตุรองก็สามารถต้านการไหลเวียนเลือดที่จะเข้าในตาได้ ทำให้ภาวะขาดเลือดดังกล่าวเลวลงอีก ในปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคต้อหินอายุน้อยลงเรื่อยๆ (จากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน การเล่นเกมส์ และใช้อินเตอร์เน็ต) และเป็นกลุ่มของโรคต้อหินที่ไม่จำเป็นต้องมีค่าความดันลูกตาสูง

ลักษณะอาการ ของโรคต้อหิน

มีความสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยรู้ตัวว่า กำลังเป็นหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหิน และนำผู้ป่วยให้ไปพบจักษุแพทย์ทำให้ได้รับการวินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น ก่อนที่จะเกิดตาบอดอย่างถาวร

อาการของโรคต้อหิน มีอะไรบ้าง

1. ตาพร่า ตามัว เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เห็นภาพเบลอซ้อน หรือตามืดบอดชั่วขณะหนึ่ง

2. เห็นจุดแสง ดำ-ขาว เต็มไปหมด หรือเห็นเป็นแสงระยิบระยับเมื่อมองไปกลางแดด

3. ปวดในเบ้าตาลึกๆ และปวดศรีษะข้างเดียวคล้ายไมเกรน หรือปวดจี๊ดขึ้นสมอง

4. ตรวจพบว่า มีสายตาสั้นขึ้นมาทันที และค่าสายตาขึ้นๆลงๆ ไม่แน่นอน

5. ตาจะพร่า เมื่อมองวัตถุบนพื้นที่มีแสงจัด หรือบนพื้นที่มันวาว

6. อ่านหนังสือไม่ทน ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือดูโทรทัศน์ได้ไม่นาน

7. เห็นดวงไฟมีแสงแดดจัดจ้า เป็นรัศมีกระจาย เห็นเป็นฝ้าหมอก หรือวงสีรุ้ง รอบดวงไฟ

8. เห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ หรือเห็นลำแสงวิ่งผ่านตา หรือเห็นเป็นเส้นหยักๆที่หางตา

9. มีความลำบากในการสังเกตพื้นที่ต่างระดับ เวลาก้าวเดิน หรือเวลาขึ้นลงบันได

10. เห็นสีจืดจางลง หรือผิดเพี้ยนไป เห็นตัวหนังสือเลือนราง หรือแตกพร่า

11. การมองในที่มืดแย่ลง เห็นหน้าคนไม่ชัด และไม่กล้าขับรถในเวลากลางคืน

12. เวลาขับรถลงอุโมงค์ลอดทางแยก หรือเดินเข้าที่ร่มในเวลาแดดจัด ตาจะมืดบอดชั่วขณะ

13. เวลามองผ่านกระจกหน้ารถในทิศทางย้อนแสงอาทิตย์ ตาจะพร่าและสู้แสงไม่ค่อยได้

14. เวลากลางคืน มักจะเดินชนข้าวของเป็นประจำ ชอบที่จะเปิดไฟทุกดวงเท่าที่มี

15. มองสิ่งที่เคลื่อนที่เร็วๆไม่ทัน ทำให้ไม่มั่นใจเวลาขับรถหรือเดินข้ามถนนคนเดียว

16. ตาสู้แสงไม่ได้ ต้องใส่แว่นดำประจำ

17. เห็นแสงมืดลงไปเรื่อยๆ หรือเห็นเป็นหมอกควันอยู่ทั่วๆไป

18. ลานสายตาแคบเข้ามาเรื่อยๆ จนระยะท้ายเหมือนมองผ่านท่อกลม

การวินิจฉัย

ด้วยการดูโครงสร้างของขั้วประสาทตาโดยการขยายม่านตาถ้าพบว่าขั้วประสาทตาฝ่อเป็นลักษณะรูปถ้วยขนาดตั้งแต่ 50 % ขึ้นไป ไม่ว่าความดันลูกตาจะปกติหรือ ผิดปกติก็ตาม ถือว่าเป็นโรคต้อหินเรื้อรัง

การรักษา

ปัจจุบันการรักษาโรคต้อหินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มีอยู่ 3 วิธี คือ
1. การใช้ยาลดความดันลูกตา

2. การยิงเลเซอร์เพื่อลดความดันลูกตา

3. การผ่าตัดเพื่อลดความดันลูกตา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์จักษุครบวงจร ชั้น 2 โรงพยาบาลเอกชัย โทร. 1715 หรือ 034-417-999 ต่อ 277, 278

<iframe width=”560″ height=”315″ src=”https://www.youtube.com/embed/-i3XROB1fFM” frameborder=”0″ allow=”accelerometer; autoplay; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture” allowfullscreen></iframe>