ไข้เลือดออก (Dengue Fever) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ที่แพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงลายตัวเมีย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการป่วยรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคเป็นยุงตัวเมีย ที่ออกหากินเฉพาะในตอนกลางวัน ชอบอาศัยอยู่ในแถบอากาศร้อนชื้น จึงพบได้มากในประเทศเขตร้อนในทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกากลางและใต้ ตอนเหนือของออสเตรเลีย และตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก จากการแพร่ระบาดในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ไข้เลือดออกจึงเป็นหนึ่งในโรคที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความสนใจ และประกาศให้เป็นโรคที่ควรเฝ้าระวัง ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนชื้น จึงพบการแพร่กระจายของยุงลายได้มาก อาจพบโรคนี้ประปรายตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนคือเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน มีฝนตกชุกและมีแอ่งน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นเสมือนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ไข้เลือดออกพบในไทยครั้งแรกในปี 2501 ซึ่งในปีแรกๆ สามารถควบคุมได้ แต่หลังๆ ก็ควบคุมได้ 
ยากมากขึ้น เนื่องจากสามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย แต่จากยอดผู้เสียชีวิตจะพบในกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยในปี 2558 ที่ผ่านมาพบว่าการระบาดรุนแรงมาก พบผู้ป่วย 200 ราย/ประชากร 100,000 ราย ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าว เป็นตัวเลขที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานเท่านั้น ตัวเลขจริงอาจมีผู้ป่วยมากกว่านั้น ดังนั้นการที่มีวัคซีนเข้ามาจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ทั้งนี้ก็มีข้อจำกัดว่าต้องฉีดในอายุระหว่าง 9-45 ปี เพราะตัววัคซีนมีไวรัสที่มีชีวิตอยู่ หากฉีดในกลุ่มที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหรือผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำๆ จะก่อให้เกิดการกระตุ้นเชื้อและส่งผลให้เป็นไข้เลือดออกได้ ดังนั้นในกลุ่มเด็ก 9 ขวบขึ้นไป ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันเชื้ออย่างน้อยแล้ว 1 ตัว จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการได้รับวัคซีน

2(44)
อาการของโรคไข้เลือดออก
1. ระยะไข้สูง 3-7 วัน จะมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียนออกมามีสีน้ำตาลปนอยู่ ปวดศีรษะไข้ขึ้งสูง 38-40 ◦C ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 ผู้ป่วยมักซึมลงหน้าแดง ตัวแดงจนมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตรวจพบโรคตับโต การตรวจ Tourniquet test ให้ผลบวก
2. ระยะวิกฤติ (ระยะช็อกและเลือดออก) ไข้ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค) อาการทรุดลงเข้าสู่สภาวะช็อก เริ่มมีอากา กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วความดันโลหิตตก อาเจียนมาก ปวดท้อง
3. ระยะฟื้น อาการทั่วไปดีขึ้น ความดันโลหิตและชีพจรกลับเป็นปรกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ตับที่โตจะลดขนาดภายใน 1-2 สัปดาห์ เริ่มรับประทานอาหารได้ มักมีผื่นแดงที่ขาและปลายท้า

26_20121025162007.

การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มี วิธีการรักษาไขเลือดออกโดยตรง การรักษาก็สามารถทำได้เพียงแค่การประคองอาการ เช่น ในผู้ป่วยที่ขาดน้ำก็เสริมน้ำให้ หรือในรายที่มีอาการรุนแรง อาการขาดเลือดก็ช่วยผู้ป่วยด้วยการถ่ายเลือดให้ เป็นต้น * ผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่มากๆ * ควรพบแพทย์เป็นระยะๆ ตามนัด เพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเป็นอันตรายอย่างใกล้ชิด * ถ้าอาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการช็อกและเลือดออกมาก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาลและดูแลใกล้ชิดเพื่อรักษาได้ทันท่วงที่ หรือหากมีอาการแทรกซ้อนอื่นเช่น ตับอักเสบรุนแรง ตับวาย สมองอักเสบ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล * ให้ยาแก้ไข้ พาราเซตามอล แต่ห้ามใช้แอสไพรินเพราะจะทำให้ระคายเคืองกระเพาะ มีโอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะง่ายและทำให้การทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ

39a27618f1dc54b80987c6706135e6b7_XL
วิธีป้องกัน
1. พยายามไม่ให้ยุงกัด
2. ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง
3. ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือด ทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้
4. รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาลหรือสาธารณะสุขจังหวัด เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้น
5. รับวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อลดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเด็งกี่ (Dengaxia) สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ซีโรไทป์ 1,2,3 และ 4 โดยวัคซีนทำงานโดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นระบบการป้องกันของร่างกายโดยธรรมชาติให้ร่างกายผลิตแอนติบอดี้ขึ้น มีระยะเวลาการรับวัคซีนห่างกัน 6 เดือน (0, 6, 12) รวม 3 เข็ม

Image
ผู้ที่เหมาะสำหรับการรับวัคซีนได้แก่
1. ผู้มีอายุ 9 ปี – 45 ปี
2. ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค