fbpx

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5

เมื่อไม่นานมานี้เราคงได้ยินข่าวกันแล้วว่าในไทยได้มีโควิดสายพันธุ์ย่อยใหม่ ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ คือ BA.4 – BA.5 เพราะมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง L452R เป็นตำแหน่งเดียวกับสายพันธุ์เดลตา ซึ่งทำให้เกิดอันตรายกับปอดมากขึ้น และกังวลว่าโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5 จะมีการแพร่ที่รวดเร็วและมีความรุนแรงเหมือนกับสายพันธุ์เดลตา

BA.4 พบผู้ติดเชื้อครั้งแรกในจังหวัดลิมโปโป ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อ 10 ม.ค. 2565 และหลังจากนั้นอีกไม่นานจังหวัดควาซูลู-นาตาล แอฟริกาใต้ก็พบผู้ติดเชื้อ BA.5 ในวันที่ 25 ก.พ. 2565 ตามมา ทั้ง BA.4 และ BA.5 มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมกลายพันธุ์ซึ่งมีความสามารถในการที่จะหลบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีอัตราการแพร่ระบาดที่เร็วขึ้นกว่าเดิม และมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อในปอดได้มากขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วอาจจะเป็นตัวที่อันตรายขึ้นกว่าโอมิครอนเดิม (BA.2) ได้ ที่สำคัญ คือ ผู้ที่เคยติดเชื้อโอมิครอน BA.1 – BA.2 มาก่อนสามารถติดเชื้อ BA.4 – BA.5 ซ้ำได้

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ BA.4 – BA.5 จะเด่นชัดกว่าผู้ป่วยที่ติดโอไมครอนรุ่นแรก

  • อาการที่พบมากกว่า 50% ของผู้ป่วย คือ อ่อนเพลีย ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล
  • อาการทางเดินหายใจ เช่น หายใจถี่และหายใจลำบาก
  • อาการทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย

อย่างไรก็ตาม วัคซีนก็ยังคงเป็นเกราะป้องกันที่ดี ต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากการติดเชื้อนี้ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะสามารถช่วยเสริมระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย ในการรับมือกับสายพันธุ์ย่อยใหม่นี้ได้

ที่มา : https://www.hfocus.org/content/2022/06/25370
https://www.bangkokbiznews.com/social/1011995
https://www.gavi.org/vaccineswork/five-things-weve-learned-about-ba4-and-ba5-omicron-variants
https://www.pptvhd36.com/health/news/1102

2023-05-17T10:58:01+07:00

Title

Go to Top