จากที่ แชดวิค โบสแมน เสียชีวิตลง หลังจากสู้กับมะเร็งนี้ มา 4 ปีเต็มๆ

ปกติโรคนี้พบมากสุดตอนอายุประมาณ 50 ปี
ในคนไทย ป่วยโรคนี้ปีละประมาณ 11,000 – 12,000 คน ต่อปี !!

เป็นชายมากกว่าหญิงเล็กน้อย

ความเสี่ยงหลักๆ คือ พันธุกรรม!!

ดังนั้น เราอาจจะรู้ก่อนล่วงหน้าได้
ความเสี่ยงอื่นๆก็คืออาหารที่เรากิน เช่น ปิ้งย่าง มันๆ ผักน้อยๆ มีอาการท้องผูกบ่อยๆ เป็นต้น

อาการของโรคนี้ ส่วนมาก คือไม่มีอาการในช่วงแรก
แต่ถ้าเป็นเยอะแล้ว ก็จะมีอาการได้มากมาย เช่น เลือดจาง ถ่ายเป็นเลือด ปวดท้อง ท้องผูก ท้องผูกสลับท้องเสีย
ถ้าเป็นเยอะสุดๆ ก็อาจมารพ.ด้วยลำไส้ทะลุหรือลำไส้อุดตันได้

การรักษาขึ้นกับระยะของโรค ถ้ามาในแรกๆ มีโอกาสหายขาดสูงถึง 95% !!! เพราะก่อนจะกลายเป็นมะเร็ง จะเป็นติ่งเนื้อมาก่อน ซึ่งพบได้ก่อน พอตัดติ่งออก ก็เหมือนตัดตัวต้นเหตุมะเร็งออกไป
ถ้าstage 0 ตัดออก ก็ไม่มีอะไรจะกลายเป็น stage 1-4 ได้

ดังนั้นมาดูการป้องกันดีกว่า เพราะโรคนี้ถือเป็นโรคที่มีการคัดกรองได้ แปลว่าถ้าเรารู้แต่เนิ่นๆ ก็รักษาได้ หายขาดได้อย่างที่บอกไป

การคัดกรอง ทำได้หลายวิธี เช่น
– ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy)
– ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ส่วนปลาย (sigmoidoscope) ร่วมกับการตรวจอุจจาระ
– CT colonoscopy คือเป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มีการ reconstruct ภาพ เพื่อดูลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะ
แต่ละวิธี มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ซึ่งคุยกับหมอได้ ว่าเราควรทำแบบไหน

ใครบ้างควรต้องไปคัดกรอง!!
1. มีคนในครอบครัว สายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง โดยควรไป ดูอายุที่เขาเป็น

– ถ้าเป็นก่อน 60 ปี  ให้คัดกรองเมื่ออายุ 40 หรือ อายุที่เป็นลบไป 10 ปี เช่น พ่อเป็นตอนอายุ 45 เราก็ไปทำการคัดกรอง ตอนอายุ 35 พ่อเป็นตอน 58 ปี เราก็ไปคัดกรองที่ ตอนอายุ 40 ปี

– ถ้าเป็นตอนอายุ หลัง 60 ปี ให้คัดกรองที่ 40 ปี เป็นต้น หลังจากนั้น หมอจะนัดทำซ้ำทุก 3-5 ปี

2. มีประวัติเคยส่องกล้องเจอติ่งเนื้อ หมอจะดูชนิดติ่งเนื้อแล้วนัดมาส่อง ปกติ ส่องซ้ำทุก 3- 5 ปี

3. มีโรคบางอย่างที่เสี่ยงสูง เช่น ลำไส้อักเสบ inflammatory bowel disease (แบบชินโสะ อาเบะเป็น) ก็จะคัดกรองนับจากที่มีอาการ ไป 10 ปี (กลุ่มนี้ไม่กังวล เพราะหาหมอตลอดอยู่แล้ว)

4. คนทั่วไป ที่ไม่มีความเสี่ยง ก็ควรคัดกรองเหมือนกัน และควรเริ่มคัดกรองตั้งแต่อายุ 50 ปี มีมะเร็งไม่กี่อย่างที่คัดกรองได้ ดังนั้น ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

โดย พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร

แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใโรงพยาบาลเอกชัย

cr: Facebook Page “หมอสายดาร์ก”