1.โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

โรคคออักเสบ ไข้หวัด หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรืแบคทีเรีย เด็กอาจมีไข้นำมาก่อนถ้าเป็นจากเชื้อไวรัสมักมีน้ำมูกใสๆ 2-3 วันอาการเด้กจะดีขึ้นแต่ถ้าเกดจากเชื้อแบคทีเรียน้ำมูกและเสมหะจะมีสีเหลืองหรือเขียว ถ้าดูแลลูก 2-3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพืเอตรวจร่างกายจะพบคอแดง โพรงจมูกแดงมีน้ำมูกข้น ระหว่างหูและจมูกจะมีท่อต่อถึงกันเรียกว่า ท่อยูสเตรเชี่ยน ท่อนี้ในเด็กจะอยู่ในแนวตรงมากกว่าผู้ใหญ่ เมื่อมีการติดเชื้อในโพรงจมูกเชื้อจะเดินทางติดต่อไปที่หูชั้นกลางทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบเด็กมักจะมีไข้ร่วมกับร้องเจ็บในหู เมื่อลูกเป็นหวัดกุมารแพทย์มักจะตรวจเยื่อแก้วหูดูด้วย ส่วนภาวะไซนัสอักเสบมักเกิดในเด็กที่เป็นภูมิแพ้หรือเป็นหวัดเรื้อรัง เด็กจะหายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกข้นซึ่งอาจไม่ไหลออกมาข้างนอกแต่ไหลลงคอทำให้เด็กไอเหมือนมเสมหะอยู่ในคอ บางรายอาจมีเลือดกำเดาไหล

การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจคือ ให้ยาลดไข้ ลดน้ำมูก ขับเสมหะ ถ้าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียแพทย์จะให้กินยาปฏิชีวนะด้วย การติดเชื้อหูชั้นกลางอักเสบต้องกินยาปฏิชีวนะนาน 7-10วัน ไซนัสอักเสบ กินยานาน2-4 สัปดาห์แล้วแต่ความรุนแรงของโรค

2.โรคติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง

กล่องเสียงอักเสบ เด็กจะมีไข้ไอร่วมกับเสียงแหบเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรืดแบคทีเรียบางชนิด ส่วนมากอาการไม่รุนแรงแต่มีบางคนที่ฝาปิดกล่องเสียงบวมมากจนปิดกั้นทางเดินหายเด็กจะหายใจเร็ว หายใจเสียงดัง ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ถ้าลูกมีอาการดังกล่าว หลอดลมอักเสบ คือการติดเชื้อลงไปที่หลอดลมเด็กจะไอ มีเสมหะมาก ควรพบแพทย์เพื่อรักษาบางรายอาจต้องให้แพทย์ดูดเสมหะให้ด้วย ปอดอักเสบ(ปอดบวม)คือการติดเชื้อที่เนื้อปอด เด็กจะมีไข้สูง หายใจเร็ว มีเสมหะ ตรวจปอดได้ยินเสียงการอักเสบในเนื้อปอด ความรุนแรงของปอดอักเสบถ้าเป็นไม่มากให้รักษาที่บ้านได้ ถ้าเป็นมากต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลให้สารน้ำ ออกซิเจน และยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด

3.โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนโรคนี้เด็กจะมีไข้ ปัสสาวะสีเหลืองขุ่น ในเด็กเล็กที่มีไข้แต่ตรวจร่างกายไม่พบการติดเชื้อที่ไหน กุมารแพทย์จะส่งตรวจปัสสาวะเพื่อารวินิจฉัยโรคนี้ ตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก อาจพบเม็ดเลือดแดงได้ แพทย์จะส่งปัสสาวะเพาะเชื้อโรคเพื่อหาสาเหตุและทราบถึงยาปฏิชีวนะที่ได้ผลดีต่อเชื้อโรคชนิดนั้น ถ้าเป็นโรคนี้เด็กต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือด การตรวจเพิ่มเติม ในเด็กที่ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ:ส่วนบนจำเป็นต้องตรวจอัลตาร์ซาวน์ไตและทางเดินปัสสาวะและนัดเด็กมาฉีดสีเข้าที่ท่อปัสสาวะเพื่อหาความผิดปกติเพราะอาจพบความผิดปกติของไตและทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง

ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง(กระเพาะปัสสาวอักเสบ) เด็กมีอาการปัสสาวะบ่อย เจ็บบริเวณที่ปัสสาวะ ไม่มีไข้(ถ้ามีไข้ต้องรักษาแบบการติดเชื้อที่ ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน ตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ อาจพบเม็ดเลือดแดงได้ภาวะนี้มักเกิดจากการกั้นปัสสาวะควรสอนให้เด็กไปห้องน้ำทุกครั้งที่ปวดปัสสาวะ

fatbaby1

4.โรคติดเชื้อระบบประสาท

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ: ฮิบ ,นิวโมคอคคัส (ไอ พี ดี) ,ซัลโมเนลล่า(ปนเปื้อนจากอาหาร และเปลือกส้ม ทำให้เด็กท้องเสียและเชื้อไปเยื่อหุ้มสมองได้)การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า2 ปีเด็กจะมีอาการไข้สูง ร้องกวนซึม กระหม่อมหน้าตึง บางรายมีอาการชักได้ ดังนั้นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีถ้ามีไข้สูง ซึมลงควรพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุของไข้ เชื้อโรคฮิบติดต่อทางหายใจ(ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันแล้ว) เชือนิวโมคอคคัส(ไอ พี ดี มีวัคซีนแล้วเช่นกันแต่ราคายังค่อนข้างสูง) ส่วนเชื้อซัลโมเนลล่าป้องกันได้โดยผู้ดูแลเด็กต้องล้างมือให้สะอาด อาหารควรปรุงใหม่ ระวังเชื้อจากเปลือกส้ม การวินิจฉัยโรค ตรวจเชื้อจากน้ำไขสันหลังการรักษาให้ยาปฏิชีวนะ

5.โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส DEN 1 2 3 4

การติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นตลอดชีวิตแต่จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดอื่น 1 ปี ดังนั้นในชีวิตหนึ่งจึงอาจติดเชื้อไข้เลือดออกได้หลายครั้งแต่เชื้อบางชนิดทำให้เกิดอาการได้รุนแรงบางชนิดไม่รุนแรง อาการของโรคไข้เลือดออกคือ มีไข้สูงลอยกินยาลดไข้ไม่ค่อยลง อ่อนเพลียเนื่องจากมีการเสียน้ำออกนอกเส้นเลือดตลอดเวลา ปวดท้อง มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง โรคนี้อันตรายเนื่องจากการติดเชื้อไข้เลือดออกทำให้เกิดลักษณะ2อย่างคือ1มีการเสียน้ำออกนอกเส้นเลือด การเสียน้ำจะมากที่สุดวันที่ไข้ลงถ้าไข้ลงแล้วลูกซึมลงต้องระวังว่าลูกจะเสียน้ำมากอาจช๊อกได้2 มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ เกร็ดเลือดช่วยให้เลือดแข็งตัวถ้าเกร็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่ายเช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ถ้ามีภาวะนี้อย่านิ่งนอนใจต้องรีบพบแพทย์ การวินิจฉัยโรค ประวัติมีไข้ ตรวจร่างกายมีจุดเลือดออกตามตัว รัดแขนด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตจะเห็นมีจุดเลือดออก ตรวจพบตับโต ตรวจเลือดพบว่าเลือดข้นขึ้นและเกร็ดเลือดต่ำลงผลเลือดจะตรวจพบหลังมีไข้วันที่3 ไปแล้ว ดังนั้นถ้าลูกมีไข้หลังกินยารักษาแล้วครบ3 วันไข้ยังสูงตลอดควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ การรักษาโรคไข้เลือดออกคือการให้สารน้ำให้เพียงพอถ้าอาการไม่รุนแรงแพทย์อาจให้กลับบ้านให้น้ำเกลือแร่ไปกินถ้าไข้ลงเกิน24 ชั่วโมงแล้วเด็กอาการดีถือว่าพ้นภาวะวิกฤต ในรายที่เป็นรุนแรงเสียน้ำมาก เกร็ดเลือดต่ำมากหรือมีภาวะเลือดออกต้องได้รับการดูแลในโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ำ เฝ้าระวังภาวะเลือดออก ควรหลีกเลี่ยงยาลดไข้กลุ่มแอสไพรินเพราะโรคแอสไพลินขัดขวางการทำงานของเกล็ดเลือดอาจส่งเสริมให้เลือดออกมากได้ ในเด็กโต วัยรุ่นและผู้ใหญ่ก็ติดเชื้อโรคไข้เลือดออกได้เหมือนกันถ้ามีไข้หลายวันและมีอาการน่าสงสัยควรพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด การป้องกัน ยุงลายเป็นภาหะนำโรคออกหากินตอนกลางวัน ควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เปลี่ยนน้ำรองขาตู้ ทุก7วัน อย่าให้มีแหล่งน้ำขัง อย่าให้ลูกโดนยุงกัด

cord-blood-collection-surprised-baby-face-298x300

6.โรคมือเท้าปากเปื่อย

โรคมือเท้าและปากเปื่อยมักเป็นในเด็กอายุตำกว่า 10 ปีพบบ่อยในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า5-6 ปีเกิดจากการติดเชือไวรัสชนิดหนึ่งเด็กจะมีไข้นำมาก่อน3-4วันต่อมาจะมีแผลในปากลักษณะเหมือนแผลร้อนในแต่มีหลายแผลทำใหเด็กเจ็บและไม่ยอมกินอาหาร ร่วมกับมีผื่นสีแดงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า บางรายมีผื่นแดงที่แขนขาได้ด้วย มักจะมีการระบาดในโรงเรียนอนุบาลหรือ เนริสเซอรี่ ติดต่อทางอุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย ในเมืองไทยยังไม่พบความรุนแรงจากโรคนี้แต่ในประเทศสิงคโปร์เชื้อเป็นคนละสายพันธืมีอาการมือเท้าและปากเปื่อยเช่นกันแต่อาจมีอาการทางสมองและหัวใจได้ด้วยทำให้เด็กเสียชีวิตในเมืองไทยยังไม่เคยพบเด็กเสียชีวิตจากโรคนี้ ถ้ามีเด็กป่วยควรให้หยุดเรียนจนกว่าแผลและผื่นจะหายเพื่อไม่ให้ไปติดคนอื่น การรักษาโรคนี้เป็นการรักษาตามอาการคือ ลดไข้ ใช้ยาชาทาแผลในปาก ให้ยาแก้คัน มีเด็กบางรายแผลในปากมีมากเจ็บแผลกินไม่ได้ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้สารน้ำทางเส้นเลือด

7.โรคแผลในปากจากเชื้อไวรัส [Herpangina]

โรคนี้มักพบในเด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี เด็กจะมีไข้สูง 2 – 3 วันก่อนที่จะมีแผลในปาก ลักษณะแผลเหมือนแผลร้อนในจำนวนมากในปากเด็กจะเจ็บแผลกินได้น้อย การรักษาให้ยาลดไข้ ยาชาชนิดใช้ทาแผลในปาก แผลจะหายภายใน5 วัน บางรายแผลเป็นมากกินไม่ได้อาจต้องให้สารน้ำทางเส้นเลือด

ทีมแพทย์กุมารเวช>>คลิ๊ก<<

เวลาทำการทุกวัน 24 ชม. โทรศัพท์ 1715 หรือ 034-417-999

คลินิคเด็กดี (เด็กฉีดวัคซีน) ต่อ 9211, 9212

คลินิคเด็กป่วย ต่อ 9221, 9222, 9223