ข้อสะโพกเสื่อมเป็นการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อสะโพก ทำให้เกิดการติดขัด และปวดขณะเคลื่อนไหวข้อสะโพก ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการทรงตัว การเดิน การขึ้นลงบันได

อาการของผู้ที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม

  1. มีอาการขัดอยู่ในข้อ เวลาขยับจะมีเสียงดังครืดคราด
  2. หลังตื่นนอนมักมีอาการข้อติด ขยับไม่ได้
  3. ขยับหรือกางขาได้น้อยลง
  4. มีอาการปวดเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ต้องขยับสะโพก
  5. มักปวดบริเวณขาหนีบ ต้นขา หรือบริเวณสะโพก

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ข้อสะโพกเสื่อม

  1. พันธุกรรม ครอบครัวมีคนเป็นข้อสะโพกเสื่อม, สะโพกผิดปกติแต่กำเนิด
  2. เป็นโรคอ้วน
  3. อายุที่เพิ่มขึ้น ในผู้สงอายุจะมีความเสื่อมของข้อนสะโพกได้มากขึ้น ส่วนใหญ่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป
  4. มีโรคประจำตัว เช่าโรครูมาตอยด์ จะทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณกระดูกหัวข้อสะโพก
  5. ได้รับยาบางชนิดมากไป เช่น สเตียรอยด์
  6. มีภาวะการติดเชื้อที่ข้อสะโพก
  7. ประสบอุบัติเหตุทำให้ข้อสะโพกหัก
  8. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

การตรวจวินิจฉัย ข้อสะโพกเสื่อม

  1. การตรวจร่างกาย โดยแพทย์จะกดสะโพกเพื่อหาจุดเจ็บ ดูลักษณะการเดิน ดูการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก
  2. ส่งตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่น การเอกซเรย์ การตรวจเอกวเรย์คอมพิวเตอร์(CT Scan) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI)

การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม

หากพบว่ารู้สึกติดขัดบริเวณข้อสะโพก เมื่อมีการเคลื่อนไหวควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาให้ดีขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ถ้ายังมีความเสื่อมของข้อสะโพกไม่มาก สามารถดูแลรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดได้ โดย

  1. ปรับการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทกข้อต่อสะโพก เช่น การขึ้นลงบันใด การนั่งพื้น การกระโดด การเล่นกีฬาประเภท แบดมินตัน บาสเกตบอล เปลี่ยนมาเป็น การปั่นจักรยาน การเดินในน้ำ เพื่อลดแรงกระแทกข้อต่อสะโพกแทน
  2. ทำกายภาพบำบัด โดยใช้ความร้อน เย็น การรักษาด้วยเครื่องมือ Laser หรือ Shock wave ซึ่งสามารถลดอาการปวดและลดการอักเสบได้ดี ส่วนใหญ่ถ้าข้อสะโพกเสื่อมไม่มากอาการจะดีขึ้น
  3. ลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกระแทกบริเวณข้อต่อสะโพก
  4. รับประทานยาลดอาการปวด และลดการอักเสบ หากไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้การรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์

การป้องกันโรคข้อสะโพกเสื่อม

เราไม่สามารถหยุดความเสื่อมของข้อสะโพกได้ แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมได้ โดยการดูแลสุขภาพดังนี้

  1. ออกกำลังกายที่ลดแรงกระแทกต่อข้อสะโพก เช่น การว่ายน้ำ การเดินในน้ำ การปั่นจักรยาน
  2. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  3. งดดื่มแอลกอฮอลล์ เพราะแอลกอฮอล์ เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวข้อต่อสะโพก ทำให้กระดูกอักเสบ ขรุขระ และเกิดการยุบหรือตายในที่สุด

การชะลอความเสื่อมของข้อสะโพก เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่หากท่านมีอาการที่สงสัยว่าจะมีความเสื่อมของข้อสะโพก แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กระดูกและข้อ

นายแพทย์ประพันธ์ ทานานนท์ ความชำนาญพิเศษ : ศัลยกรรมกระดูก เฉพาะทาง : เปลี่ยนสะโพกและข้อเข่าเทียม

โรงพยาบาลเอกชัย โทร. 1715 หรือ 034-417-999 ต่อ 132, 133