การทดสอบการแพ้อาหารด้วยวิธีรับประทาน (Oral Food Challenge Test)

เป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรคที่น่าเชื่อถือมากที่สุด และสามารถให้ความมั่นใจในการรับประทานอาหารแก่ผู้ป่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นการแพ้อาหารในลักษณะเฉียบพลัน (IgE) ที่เกิดขึ้นเร็ว ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงภายหลังรับประทาน หรือ ชนิดไม่เฉียบพลัน (non-IgE) ที่อาจปรากฎอาการภายหลังรับประทานนานหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน

ขั้นตอนการทดสอบ

แพทย์ผู้ทำการทดสอบจะทำการซักประวัติการแพ้อาหาร และ/หรือ อาจพิจารณาให้ทำการทดสอบอื่นๆเพิ่มเติมก่อนการรับประทาน เช่น การทดสอบสารก่อภูมิแพ้โดยการสะกิดผิวหนัง (skin prick test) หรือการเจาะเลือดแบบจำเพาะ เป็นต้น

ในการทดสอบการแพ้อาหารด้วยวิธีรับประทาน ผู้ป่วยจะได้รับประทานอาหารที่สงสัยว่าแพ้ / เคยมีประวัติแพ้ ในปริมาณ 5-10 % ของปริมาณที่ควรได้รับ และค่อยๆเพิ่มปริมาณ ทุก 15 นาที โดยจะมีการสังเกตอาการและวัดสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด จนผู้ป่วยสามารถทานอาหารในปริมาณปกติได้ โดยใช้เวลาทดสอบประมาณ 3 ชั่วโมง ในกรณีที่อาการของผู้ป่วยเป็นการแพ้ที่เกิดขึ้นล่าช้า อาจต้องสังเกตอาการต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 7 วัน หากผู้ป่วยไม่มีอาการแพ้เกิดขึ้นจะถือว่าผู้ป่วยไม่ได้แพ้อาหารชนิดนั้นหรือหายแพ้อาหารชนิดนั้นแล้ว

การเตรียมตัวก่อนทำการทดสอบ

  • ผู้ป่วยต้องสบายดี ไม่มีการเจ็บป่วยใดๆ ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนทำการทดสอบ
  • งดรับประทานอาหารที่สงสัยว่าแพ้อย่างน้อย 7-14 วัน ก่อนทำการทดสอบ
  • งดรับประทานยาแก้แพ้ อย่างน้อย 7 วันก่อนทำการทดสอบ

ผู้ที่เหมาะสมกับการทดสอบการแพ้อาหารด้วยวิธีรับประทาน

  • ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหาร และต้องการพิสูจน์ว่าหายแล้วหรือไม่ เนื่องจากการแพ้อาหารบางชนิดในผู้ป่วยเด็กอาจหายแพ้ได้เมื่ออายุมากขึ้น
  • ผู้ที่เคยทานอาหารชนิดนั้นๆได้ แต่ต่อมาถูกวินิจฉัยว่าแพ้อาหารและต้องการพิสูจน์ว่าแพ้อาหารชนิดนั้นๆจริงหรือไม่
  • ผู้ที่เคยตรวจจากผลเลือดว่าแพ้อาหารแต่ไม่มีอาการ

หมายเหตุ

ผู้ป่วยที่เข้ารับการทดสอบการแพ้อาหารด้วยวิธีรับประทาน อาจมีโอกาสเกิดอาการแพ้อาหารชนิดนั้นๆได้ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าผู้ป่วยแพ้อาหารจริงหรือยังไม่หายจากการแพ้อาหารชนิดนั้น ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อป้องกันและแก้ไขอาการแพ้ได้ทันท่วงที
ทั้งนี้การทดสอบจะเริ่มทำหลังจากได้รับความยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ป่วยหรือผู้ปกครองซึ่งได้ทราบถึงกระบวนการและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

บทความโดย : พญ.ณิชาพร วัฒนพรมงคล

กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
คลินิกภูมิแพ้เด็กโรงพยาบาลเอกชัย โทร.1715 ต่อ 9221, 9222

 

การทดสอบการแพ้อาหารด้วยวิธีรับประทาน

10/02/2022|0 Comments

การทดสอบการแพ้อาหารด้วยวิธีรับประทาน (Oral Food Challenge Test) เป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรคที่น่าเชื่อถือมากที่สุด และสามารถให้ความมั่นใจในการรับประทานอาหารแก่ผู้ป่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นการแพ้อาหารในลักษณะเฉียบพลัน (IgE) ที่เกิดขึ้นเร็ว ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงภายหลังรับประทาน หรือ ชนิดไม่เฉียบพลัน (non-IgE) ที่อาจปรากฎอาการภายหลังรับประทานนานหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน ขั้นตอนการทดสอบ แพทย์ผู้ทำการทดสอบจะทำการซักประวัติการแพ้อาหาร และ/หรือ อาจพิจารณาให้ทำการทดสอบอื่นๆเพิ่มเติมก่อนการรับประทาน เช่น การทดสอบสารก่อภูมิแพ้โดยการสะกิดผิวหนัง (skin prick test) หรือการเจาะเลือดแบบจำเพาะ เป็นต้น ในการทดสอบการแพ้อาหารด้วยวิธีรับประทาน ผู้ป่วยจะได้รับประทานอาหารที่สงสัยว่าแพ้ / เคยมีประวัติแพ้ ในปริมาณ 5-10 % ของปริมาณที่ควรได้รับ และค่อยๆเพิ่มปริมาณ [...]

การตรวจสารก่อภูมิแพ้ Allergy Screening

26/06/2020|0 Comments

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ เช่น โรคภูมิแพ้จมูก หอบหืด หรือแพ้อาหาร นอกจากต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายแล้ว ยังมีวิธีการทดสอบอีกหลายวิธีเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา แต่ที่นิยมทำกันมี 2 วิธี คือ การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy skin testing) การเจาะเลือดหาสารก่อภูมิต้านทานที่จำเพาะกับสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด(Serum Specific IgE) โดยสามารถแบ่งสารก่อภูมิแพ้ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สารก่อภูมิแพ้ทางอากาศ เช่น ไรฝุ่นบ้าน แมลงสาบ รังแคสุนัขและแมว หญ้าและวัชพืช สปอร์เชื้อรา เป็นต้น สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร เช่น นมวัว ถั่วเหลือง [...]

ตรวจภูมิแพ้ ด้วยการสะกิด

17/06/2020|0 Comments

"ภูมิแพ้" แม้ส่วนใหญ่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ก่อให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เป็นอุปสรรค ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การได้ทราบต้นเหตุของการแพ้จะช่วยผู้ป่วยในการหลีกเลี่ยงสารดังกล่าวได้ถูกต้อง และช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยจนถึงการวางแผนการรักษา ซึ่งโดยทั่วไปสารก่อภูมิแพ้ แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ทางอากาศ เช่น ไรฝุ่นบ้าน แมลงสาบ รังแคสุนัขและแมว หญ้า วัชพืช สปอร์เชื้อรา ฯลฯ และ สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร เช่น นมวัว ถั่วเหลือง ไข่แดง ไข่ขาว แป้งสาลี อาหารทะเล เป็นต้น ในการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ มีวิธีที่นิยม 2 [...]

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)

12/06/2019|0 Comments

เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก เด็กๆจะผิวหนังแห้งคันมาก เมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เช่น อาหารบางอย่าง สภาพอากาศ สารเคมี การติดเชื้อ การเกา สามารถกระตุ้นให้ผื่นรุนแรงขึ้นได้ การรักษา แนะนำให้รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง เมื่อผื่นกำเริบแนะนำมาพบแพทย์ เพื่อรับยารับประทาน, ยาทา รวมถึงการดูแลผิว การอาบน้ำ ที่เหมาะสมกับภาวะของผื่นที่พบ ข้อมูลโดย : พญ.ธัญลักษณ์ วิถีธนะวนิช กุมารแพทย์ เฉพาะทางโรงผิวหนังเด็ก รพ.เอกชัย

ภูมิแพ้ อาหารแฝง

20/10/2017|1 Comment

“อาหาร” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คนเราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่เชื่อหรือไม่คะว่า? อาหารที่เรารับประทาน เพื่อหวังที่จะต้องการพลังงานและสารอาหารจากมันนั้น มันกลับก่อให้เกิดโรคร้ายแก่เราอย่างเงียบ ๆ และโรคที่ว่านี้ก็คือ “โรคภูมิแพ้อาหารแฝง” ด้วยสิ่งแวดล้อมและภาวะที่เร่งรีบของชีวิตคนในยุคปัจจุบัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เราวนเวียนกับการรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นนี้ ซึ่งการรับประทานอาหารซ้ำ ๆ แบบเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ นั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้อาหารแฝงนั่นเองค่ะ โรคภูมิแพ้อาหารแฝงนี้แตกต่างจากโรคภูมิแพ้อาหารอย่างที่เรารู้จักกัน การแพ้อาหารนั้น เป็นการตอบสนองของร่างกายกับสารบางชนิดในอาหาร ทั้ง ๆ ที่สารนั้นไม่ได้เป็นสารพิษแต่อย่างใดค่ะ ซึ่งการแพ้อาหารโดยทั่วไปมักเกิดอย่างฉับพลันทันที หรือเว้นระยะเพียงเล็กน้อยหลังรับประทาน ต่างจากโรคภูมิแพ้อาหารแฝง ที่ไม่มีการแสดงออกถึงอาการแพ้แต่อย่างใด ส่วนโรคภูมิแพ้อาหารแฝงนั้น ไม่ได้แสดงอาการเฉียบพลันทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ สะสมเป็นภัยคุกคามอย่างเงียบ ๆ โดยอาหารจะไปกระตุ้น [...]