ต่อมไทรอยด์ มีลักษณะเหมือนผีเสื้ออยู่ที่คอ ใต้ลูกกระเดือก ทำหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนที่ออฤทธิ์ควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับไขมันในเลือด รวมทั้งสภาพอารมณ์ ไทรอยด์ฮอร์โมนยังมีผลต่อการควบคุมการเจริญเติบโต และสติปัญญาในเด็ก

โรคต่อมไทรอยด์

1. โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือคอพอกเป็นพิษ (Hyperthyroidism)

เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าปกติผู้ป่วยจะมีอาการขี้ร้อน ใจสั่น เหนื่อยง่าย มือสั่น น้ำหนัก-ตัวลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย คอพอก ประจำเดือนผิดปกติ นอนไม่หลับ ตาโปน กล้มเนื้ออ่อนแรง

2. โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism)

เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมาน้อย ผู้ป่วยที่เป็นน้อยอาจจะไม่มีอาการชัดเจน หากไม่รักษาโรคจะเป็นมากขึ้น จนเกิดอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ได้แก่ ท้องผูก ง่วงบ่อย เชื่องช้า ชีพจรเดินช้า อ่อนเพลีย ขี้หนาว น้ำหนักตัวเพิ่ม ผิวหยาบและแห้ง ผิวซีด และผมแห้ง ขี้ลืม เสียงแหบ กลืนลำบาก ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ตัวเตี้ยและเป็นโรคเอ๋อได้

สาเหตุ

  • เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์เรื้อรัง (thyroiditis)
  • การขาดสารไอโอดีน
  • การได้รับยาต้านไทรอยด์ที่มากเกินไป
  • ความผิวปกติของต่อมไทรอยด์แต่กำเนิดอื่นๆ ได้แก่ ภาวะที่ขาดเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนภาวะที่ดื้อต่อไทรอยด์ ฮอร์โมน

การรักษา

  • ให้ไทรอยด์ฮอร์โมน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะต้องได้ยาไปตลอดชีวิต
  • ในผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคหัวใจร่วมด้วย ควรจะเริ่มให้ในขนาดน้อยแล้วค่อยปรับยา
  • ไม่ควรหยุดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาไทรอยด์ออร์โมนพร้อมกับยาอื่น เช่น ยาบำรุงเลือด แคลเซียม เป็นต้น
  • ควรตรวจเลือดไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นระยะ เพื่อปรับยาไทรอยด์ฮอร์โมน ในกรณีที่ไม่ต้องปรับขนาดยา ให้รับประทานยาต่อเนื่องและตรวจเลือดไทรอยด์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

3. โรคต่อมไทรอยด์โตที่มีฮอร์โมนปกติ

โรคต่อมไทรอยด์โตที่มีฮอร์โมนปกติ อาจจะเป็นกลุ่มที่มีต่อมไทรอยด์โตแบบทั่วๆ ไป
และก้อนของต่อไทรอยด์ ก็ได้ สาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์โตทั่วๆไป ที่มีฮอร์โมนปกติ อาจจะเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ต่อมไทรอยด์อัเสบเรื้อรัง การขาดเอนไซม์ในการสร้างฮอร์โมน และอื่นๆ
ส่วนสาเหตุของโรคต่อมไทรอยด์โตที่เป็นก้อนเดี่ยวหรือหลายก้อนอาจจะเกิดจากเนื้องอกชนิดธรรมดาของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำ เลือดออกในต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีก้อนโตเพียงก้อนเดียว

ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมว่าก้อนเนื้องอกนั้นเป็นมะเร็งไทรอยด์หรือไม่

การรักษาผู้ป่วยอาจจะได้รับยาไทรอยด์ฮอร์โมนเพื่อยับยั้งการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์ และบางรายอาจจะทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลง แต่ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของยา

อาจจะติดตามขนาดก้อนโดยที่ไม่ได้รับยาไทรอยด์ฮอร์โมน ถ้าผู้ป่วยมีขนาดก้อนโตขึ้น มีอาการกดของอวัยวะข้างเคียง หรือการเจาะชิ้นเนื้อไทรอยด์ สงสัยจะเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ พิจารณารักษาโดยการผ่าตัด

ขอขอบคุณข้อมูลโดย : สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายแพทย์ได้ที่ศูนย์อายุรกรรม โทร.034417999 หรือสายด่วน 1715 ต่อ 110, 111