office syndrome คืออะไรนะ?? ถ้าไม่ทำงานใน office จะเป็นได้มั้ยนะ

จริงๆ office syndrome คือกลุ่มอาการที่มักเกิดขึ้นกับคนวัยทำงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องอยู่ท่าเดิมๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น นั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือทำท่าซ้ำๆต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเกิดอาการได้หลากหลายระบบ เช่น กระดูกกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท เป็นต้น แต่อาการที่พบบ่อยและก่อให้เกิดความไม่สุขสบายมากที่สุดคือ อาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะบริเวณ คอ บ่า ไหล่ ซึ่งเรียกอีกชื่อว่ากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเยื่อและพังผืด (myofascial pain syndrome) บางครั้งถ้าเป็นเรื้อรัง กล้ามเนื้อที่เกร็งตัวนี้อาจจะกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการชา หรืออ่อนแรงได้อีกด้วย

จะป้องกันภาวะนี้ได้อย่างไร

หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นดังที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น จึงควรมีการเปลี่ยนอิริยาบทสม่ำเสมอเมื่ออยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อย่างน้อยๆทุกๆ 1 ชั่วโมง ยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น รวมไปถึงออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ ปรับสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับสรีระ เช่น ปรับระดับความสูงของโต๊ะ เก้าอี้ ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ระดับสายตา

ถ้าสงสัยว่าเป็นภาวะนี้ จะทำอย่างไร

ควรได้รับการรักษาโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องกล้ามเนื้อ เช่นแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือแพทย์กระดูกและข้อ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย โดยแนวทางการรักษาอาจจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน เช่น

การรับประทานยา

1.ยืดกล้ามเนื้อ (stretching exercise)
2.รักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด เช่น extracorporial shock wave therapy, ultrasound, laser เป็นต้น
3. รักษาโดยการฝังเข็มลงบนจุดที่กล้ามเนื้อเกร็ง (Trigger point injection) ซึ่งแตกต่างจากการฝังเข็มแบบจีน
4. การนวดแผนไทย

ท่าที่พึงปฏิบัติ

– ศีรษะตั้งตรง
– นั่งตัวตรง พิงพนักเก้าอี้(ถ้าที่นั่งของเก้าอี้กว้าง หาหมอนรองด้านหลัง) ไม่เอนตัว หรือแอ่นหลังมากเกินไป
– แขนและข้อศอกงอเล็กน้อย ขนานกับพื้น ไหล่ไม่ยก
– เท้าวางราบกับพื้น
– ความสูงของโต๊ะทำงานควรอยู่ระดับเดียวกับศอก ข้อมือตรงขณะทำงาน

ข้อมูลโดยแพทย์หญิงนิษฐา เอื้ออารีมิตร แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ

บอกลา โรคออฟฟิตซินโดรม https://www.ekachaihospital.com/th/package-office-syndrome/